วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นราธิวาส




ครับในส่วนของจังหวัดนราธิวาสนี้ ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ทีมพิเศษของเราได้ลงไปให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง CSR ให้ครับ มาคิดๆ ดูแล้ว ไม่แน่ใจว่าพี่ๆ ทีมพิเศษเค้าไม่กลัวอันตรายกันเลยหรือยังไง อืม...อาจจะเป็นคนในท้องที่อยู่แล้วก็เลยเฉยๆ รึป่าว ก็เป็นได้ เพราะผมเองก็ไม่เคยเห็นหน้าของทีมพิเศษเลย ก็อยากจะเจอหน้าผู้เสียสละของเราดูซักครั้งครับ ผมคิดว่าชาวใต้อาจจะรู้สึกเฉยๆ กับเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพราะบางครั้งอาจจะไม่ได้ร้ายแรงเหมือนอย่างที่เราเห็นในสื่อก็ได้ บางทีเพื่อนๆผมที่เป็นคนต่างชาติหลายคนได้สอบถามผมในช่วงที่มีการปะท้วงต่างๆ ถามผมประมาณว่าบ้านเมืองเป็นอย่างไร ร้ายแรงแค่ไหน จะมาเที่ยวจะเป็นอันตรายไหม รับรองความปลอดภัยได้มากน้อยเพียงใด ผมก็บอกไปว่ามาได้เลย ไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้นหรอก เพื่อนๆ ก็มาซื้อของที่บ้านเราและนำกลับไปขายยังบ้านเค้าก็มี สิ่งต่างๆ อาจจะไม่ได้เหมือนอย่างภาพที่เราเห็นหรือได้ยิน เพราะเราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมันขนาดไหนกันแน่
หน้าที่พลเมืองสำหรับชาวเมืองนราธิวาสได้เลือกในหัวข้อ มีความสวามิภักดิ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสนองพระราชดำริของพระองค์ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ใช้จ่ายอย่างประหยัด ช่วยเหลือสังคม แต่ก็ต้องทำมาจากใจของตนเองเช่นกัน ท่านต่อมาเป็นผู้ที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจ ต้องปฏิบัติตนไม่สร้างความเดือดร้อนกับผู้อื่นทั้งทางตรงและอ้อม เป็นที่พึ่งพาของครอบครัวได้ ท่านที่สามเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ทำงานสุจริต ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ดำรงชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การแสดงความเป็นพลเมืองบรรษัท ชาวนราธิวาสอยากให้องค์กรประกอบธุรกิจที่แสวงหากำไรโดยชอบธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อส่วนร่วม

สำหรับกิจกรรม CSR เชิงระบบ ท่านแรกอยากให้เพิ่มความสัมพันธ์ของคุณลักษณะ ความสัมพันธ์ชายแดนใต้ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างกัน จัดอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ สร้างความสามัคคีให้สังคมชายแดนใต้ คนใต้จะได้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น ท่านต่อมาอยากทำในเรื่องความเข้าใจในเรื่อง CSR อยากให้พนักงานทุกคนเข้าใจในเรื่อง CSR อยากให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม จะได้เป็นผลดีต่อองค์กรและชุมชน ท่านที่สามอยากให้ลงมือทำในเรื่องการสื่อสาร ขอความร่วมมือ จากผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ โดยร่วมมือกับองค์กรส่วนท้องถิ่น แนะนำการสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น ชัดเจนขึ้น คาดว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมถึง 80 %

ชาวนราธิวาสได้คิดโครงการ Creative CSR ที่น่าสนใจ ได้แก่ “โครงการรักษ์บ้านเกิด” มีการสร้างจิตสำนึกต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน เช่นการไม่ทิ้งขยะ ทำความสะอาดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ร่วมทำความสะอาดบริเวณหมู่บ้าน ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด มีมัคคุเทศก์แนะนำแหล่งท่องเที่ยว มีการประชาสัมพันธ์ ต้องการความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ชุมชนจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความยิ้มแย้มแจ่มใส เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยว กำหนดกิจกรรมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อสภาพสังคมที่ดี
ต่อมา คือ “โครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม” ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด รณรงค์ให้ขี่จักรยานมาทำงานแทนใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ ใช้รถเมื่อจำเป็นหรือเดินทางไกลเท่านั้น สุขภาพก็จะดีขึ้น ลดมลพิษในอากาศ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปซื้อน้ำมัน สร้างความสามัคคี เป็นกิจกรรมที่แก้ไขปัญหาจราจรด้วยอีกทางหนึ่ง

และ “โครงการปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม” จัดอบรมนักศึกษาโดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดกลุ่มทำโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ ทำตัวอย่างให้คนในท้องถิ่นได้เห็น เช่น การแยกขยะ หรือการรีไซเคิล ส่งเสริมการปลูกป่าที่มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง รณรงค์ให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เป็นการลดภาวะโลกร้อน

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับกิจกรรมต่างๆ ของชาวจังหวัดนราธิวาส ส่วนมากจะเป็นในแนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผมก็ไม่เคยไปหรอกนะครับ แต่คิดว่าถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะไปให้ครบๆ ทุกจังหวัดในประเทศของเรา มีสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจมากมายที่เราไม่สามารถพบเห็นได้ที่กรุงเทพฯ นะครับ ถ้าเป็นไปได้ใครที่มีกำลังและโอกาสก็อยากจะไปให้ไปพัฒนา หรือพื้นฟู ปรับปรุง พื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัดให้มันดีขึ้น จะเป็นบุญกุศลอย่างยิ่งที่จะติดตัวทุกท่านไป ผมได้เห็นข่าวโครงการหนึ่ง ที่มีคนรวยๆ คนดังๆ จากประเทศต่างๆ ได้มาเมืองไทยเราและสร้างบ้านให้กับผู้ยากจน ทำด้วยมือตนเองด้วย ผมก็ชอบโครงการนี้มากเลย ถ้าเป็นไปได้ก็หวังว่าทุกๆ ท่านจะทำเพื่อคนอื่นแบบนี้เช่นกันนะครับ ฝากเรื่องเหล่านี้สำหรับทุกๆ คนเลยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ยะลา

ในวันนี้ Blog ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็น 3 จังหวัดของประเทศไทยก็ได้ลงเผยโฉมให้เราเห็นกันซะทีนะครับ (รอกันจนเหงือกแห้งทีเดียว) ซึ่งเนื้อหาในวันนี้กระผมก็ไม่ได้ลงไปเองหรอกครับ แต่มีทีมอาจารย์ที่เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อาสาไปให้ความรู้ CSR (ต้องขอบคุณมากจริง ๆ มิเช่นนั้นชาวบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คงได้เห็นหน้าตาทีมงานของผมอย่างตัวเป็น ๆ แน่นอน) หวังว่าการอบรมครั้งนี้คงจะสร้างสำนึกความรับผิดชอบในหน้าที่ของแต่ละบุคคลให้เกิดผลกระทบเชิงลบแก่ผู้อื่นน้อยที่สุดไม่มากก็น้อยนะครับ

มาในช่วงหน้าที่พลเมืองและพลเมืองบรรษัทก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดยะลามากมาย อาทิ การเป็นผู้ที่เชื่อฟังยำเกรงต่อพระราชกำหนดกฎหมายของประเทศบ้านเมืองทุกเมื่อด้วยการจ่ายภาษีตามกฎหมายที่กำหนดทุกปี และการสวมหมวกกันน็อคเวลาขับขี่จักรยานยนต์ ส่วนอีกหัวข้อที่น่าสนใจ คือ เป็นผู้มีความสัตย์โดยเริ่มจากการซื่อสัตย์ต่อการทำงานไม่เอาเปรียบผู้อื่น เช่น เพื่อนทำงาน 8 ชั่วโมงเราก็ต้องทำ 8 ชั่วโมงเท่ากันอย่างเต็มความสามารถ เป็นต้น และหัวข้อพลเมืองบรรษัทที่น่าสนใจก็มีดังนี้ อาทิ การส่งเสริมให้พนักงานมีศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะถ้าบุคคลหรือองค์กรมีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมทั้งใช้เป็นหลักในการทำงานแล้วจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนอีกหัวข้อ คือ การไม่ดำเนินกิจการที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อส่วนรวมเพราะทุก ๆ ธุรกิจควรมีจรรยาบรรณทางธุรกิจโดยเริ่มจากการคำนึงถึงส่วนรวมและสังคมเป็นหลักก่อน มิใช่คำนึงแต่ผลกำไรเป็นที่ตั้งอย่างเดียวเท่านั้น

มาถึงช่วงกิจกรรม CSR เชิงระบบก็มีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ อาทิ การเพิ่มความเชื่อถือได้ในการดำเนิน CSR ขององค์กรเนื่องจากบางโครงการ CSR ขององค์กรบางโครงการยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือพอสมควรจึงต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นด้วยการอบรม ส่วนอีกหัวข้อ คือ การสร้างความเข้าใจในเรื่อง CSR ขององค์กรโดยเริ่มจากการจัดประชุมให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการทบทวนปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรเกี่ยวกับ CSR อีกด้วย

โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ "โครงการสายใยผูกพันสานสัมพันธ์ความรัก"โดยเริ่มจัดกิจกรรมในรูปแบบค่าย ซึ่งในค่ายก็มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างเครือข่ายครอบครัวให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย และท้ายกิจกรรมก็มีการสรุปกิจกรรมติดตามผลอีกด้วย
ต่อมา คือ "โครงการยืดอกพกถุง" โดยจะเริ่มจากการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ประชาชนในเรื่องการลดใช้ถุงพลาสติกให้หันมาใช้ถุงผ้าแทน ซึ่งการเน้นกิจกรรมครั้งนี้จะกระตุ้นปลุกให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยโครงการจะเน้นให้นักศึกษาเริ่มใช้ถุงผ้าก่อนเป็นเวลา 3 เดือนก่อนถ้าได้ผลดีก็จะดำเนินการกระจายให้เกิดวงกว้างต่อไป

นอกจากนี้ยังมี "โครงการรวมใจ 2 ศาสนาสานวัฒนธรรม" ซึ่งจะเริ่มจากการจัดแคมป์เข้าค่ายเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจวัฒนธรรมของกันและกัน ซึ่งสุดท้ายก็จะมีการจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องศาสนาและวัฒนธรรมให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดนิทรรศการเพิ่มเติมอีกด้วย

อีกทั้ง "โครงการลานกีฬาต่อต้านยาเสพติด" โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ต้องการให้วัยรุ่นในจังหวัดยะลาห่างไกลจากยาเสพติดให้มากที่สุด ซึ่งจะเริ่มจากการจัดแข่งขันกีฬาในชุมชนโดยให้นักกีฬาทีมชาติเข้ามาแข่งร่วมด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน และจะมีการสร้างสนามกีฬาในชุมชนให้เพียงพอต่อเยาวชนในชุมชนอีกด้วย

และ "โครงการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้วัสดุธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" โดยเริ่มจากการจัดมหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดทำอาหารด้วยการใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติมาปรุงรส การจัดนิทรรศการประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติ การจัดการแสดงเกี่ยวกับการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติ และสุดท้ายก็จะมีการจัดประกวดบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ จากวัสดุที่แปรรูปจากธรรมชาติ เป็นต้น

สังเกตจากหลายกิจกรรมซึ่งผมคิดว่าหากทุกกิจกรรมเกิดการสานต่ออย่างจริงจังและต่อเนื่องผ่านการกระทำจากฝีมือของพี่น้องชาวจังหวัดยะลา ผมคนหนึ่งแหละครับที่เชื่อว่าจังหวัดยะลาต้องดีขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน และหวังว่าในอนาคตอันใกล้ปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะละลายหายไปตามกาลเวลานะครับ ทั้งนี้ผมได้เลือกกิจกรรม Creative CSR ของจังหวัดยะลาทุกกิจกรรมมาลงใน Blog ทุกกิจกรรมเลยนะครับ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปัตตานี




สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับ มาถึงจังหวัดนี้อ่านดูแล้วอาจจะคิดว่า โห...สถาบันไทยพัฒน์ช่างกล้าที่จะส่งทีมงานลงไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำประกันชีวิตรึป่าว อาจจะคิดว่าไปเอากำลังใจมาจากไหนหรือโดนสะกดจิตมา ลองคิดดูครับว่าต้องไปเสี่ยงกับภัยอันตรายขนาดไหน อิๆๆ จริงแล้ว ทั้งทีมอาจารย์ฌานสิทธิ์และอาจารย์วุฒิพงศ์ ไม่มีทีมไหนลงไปหรอกครับ เรามีทีมพิเศษอีกหนึ่งทีมที่ลงไปให้ความรู้กับจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ต้องขอขอบพระคุณจากใจจริงๆ ทีกรุณาเสียละแทนพวกกระผม อย่างไรก็ตามเราก็ได้ละเอียดทุกๆ กิจกรรมมาอย่างครับถ้วน เพื่อที่จะมาให้ทุกๆ ท่าน ได้อ่านและติดตามกันครับ

หน้าที่พลเมือง ของชาวปัตตานีนั้นเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพโดยชอบธรรมซะส่วนใหญ่ ทุกคนต้องเรียนหนังสือหรือไม่ก็เรียนรู้จากประสบการณ์ที่พบเห็นจริง เพื่อความอยู่รอด อยู่ดี กินดี ความสะดวกสบาย ความมั่นคงของชีวิต ไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม ประกอบอาชีพสุจริต ทำธุรกิจที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดำเนินกิจการให้ดีที่สุด ให้มีประสิทธิภาพ มีความสำเร็จ มีความเที่ยงธรรม ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าในอนาคต ผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็จะได้ทำงานกันอย่างเที่ยงธรรม ในส่วนของความเป็นพลเมืองบรรษัท ชาวปัตตานีอยากให้องค์กรธุรกิจได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใส และไม่ดำเนินกิจการที่สร้างความเสียหายต่อส่วนรวม

ในส่วนของกิจกรรม CSR เชิงระบบ ท่านแรกอยากให้เพิ่มความเชื่อถือได้ในการดำเนิน CSR ขององค์กร ให้การอบรมเพื่อพัฒนาการทำงาน เพื่อเพิ่มเกี่ยวกับการดำเนินงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน พนักงานจะได้มีความเชื่อมั่นในองค์กร ท่านที่สองก็ได้เลือกในหัวข้อเดียวกัน อยากให้องค์กรดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ทำให้สังคมเชื่อถือได้ มีการลงพื้นที่เพื่อการเข้าใจถึง CSR อย่างลึกซึ้ง มีการร่วมกิจกรรมกับประชาชนทั่วไป ประชาชนและสังคมมีความเข้าใจ เชื่อถือในตัวองค์กรมากขึ้น และประชาชนก็จะได้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

กิจกรรม Creative CSR ในวันนี้เราได้โครงการที่น่าสนใจ 3 โครงการด้วยกัน แบ่งออกเป็น “โครงการรักษ์ทะเลปัตตานี” โดยจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อสำรวจข้อมูลสถานที่ กำหนดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำความสะอาดชายทะเล จัดหางบประมาณ เผยแพร่ผลประโยชน์ที่จะได้รับแก่ชุมชน ติดตามผลการดำเนินงาน มีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง ประชาชนจะเกิดความพอใจ จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประชาชนมีสุขอนามัยดีขึ้น

ต่อมา คือ “โครงการศูนย์รวมใจ ต้านภัยยาเสพติด” สร้างสถานกีฬาต่อต้านยาเสพติด ของคนและเยาวชนในท้องถิ่น มีการจัดตั้งคณะผู้ดำเนินงาน จัดตั้งลานกีฬา มีการแข่งขันกีฬาในหมู่บ้าน มีการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ต้านยาเสพติดและสร้างพลังงาน ทุกๆ คนจะห่างไกลจากยาเสพติด สภาพครอบครัวดีขึ้น ถ้ามีการให้ความร่วมมือ คาดว่าจะประสบผลสำเร็จ 100%

และ “โครงการสามัคคีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ปัตตานีแจ่มใสด้วยโลกสีเขียว” ส่งเสริมความรู้ให้ประชาชน เข้าใจวิธีการแยกขยะให้ถูกประเภท บำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ จัดตั้งให้มีโรงงานที่รับผิดชอบคัดแยกขยะ มีการแปรรูปหรือปฏิรูปขยะ เก็บขยะในแม่น้ำโดยเน้นให้ประชาชนมีใจรักในการเก็บขยะ อุตสาหกรรมควรลดการปล่อยก๊าซพิษ ติดตามประเมินผล ชุมชนสะอาด ประชาชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย

กิจกรรมทั้ง 3โครงการของ จังหวัดปัตตานี ดูแล้วน่าสนใจครับถึงผมจะไม่ได้ไปแต่จากรายละเอียดต่างๆ ดูแล้วคนในท้องถิ่นอยากที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้จังหวัดตนเองนั้นเจริญ และได้รับความยอมรับจากสังคม ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ใครๆ คิด ยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่อยากจะให้ทุกๆ คนได้ไปชมกัน จะว่าไปแล้วอย่างรายการ Navigator ของคุณเจษฎาพร ผลดี (ติ๊ก) ก็ได้ลงไปถ่ายทำเกี่ยวกับจังหวัดนี้ในส่วนของการออกเรือท่องเที่ยว เพื่อไปดูฉลามวาฬ กลางมหาสมุทร ผมดูแล้วก็ยังอยากไป ถ้ามีโอกาสและเวลาที่เหมาะสมก็ควรที่จะไปกันนะครับ ไม่ต้องต่างประเทศหรอกครับ ไปบ้านเราดีกว่า รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สุราษฎร์ธานี

หมายเหตุ: สำหรับจังหวัดนี้ก็เช่นเคยครับกับการเขียนให้ทุกท่านได้อ่านและติดตามกัน จะใส่ชื่อพี่หนึ่งและกระผม (นายแม็กซ์) ไว้ด้านหน้านะครับ

(นายแม็กซ์) ทีมอาจารย์วุฒิพงศ์ของเราเดินทางจากชุมพรลงไปใต้กว่าเดิม เพราะภารกิจในวันต่อไปเราต้องไปจัดกันที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ เป็นงานระดับภาคใต้ตามที่ได้กล่าวไว้บ้างแล้วในบางจังหวัดก่อนหน้านี้ ทีมอาจารย์ฌานสิทธิ์ที่ปฏิบัติภารกิจจากระนองเสร็จก็ตามมาสมทบด้วยเช่นกัน เราเดินทางกันมาเรื่อยๆ และต้องแวะทานอะไรกันก่อนที่จะเข้าตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เผื่อว่าต้องเตรียมการอะไรหรือใครเรียกใช้ทางเราจะได้พร้อมเสมอ

จะว่าไปแล้วการเดินทางตลอดทุกๆ จังหวัดที่ผ่านมาของทั้งสองทีมก็ทำให้ผมและพี่หนึ่งได้ประสบการณ์มากขึ้น ไม่ว่าจะทั้งเรื่องอุปนิสัยคน วัฒนธรรม การใช้ชีวิต ภาษา การแสดงออกต่างๆ การเข้าหาคน ทำให้เรารู้อะไรมากขึ้นเยอะเลยครับ ถึงจะเหนื่อยกับการเดินทางบ้างแต่ก็คุ้มเกินคุ้ม เราเดินทางมาถึง โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า กันก็เย็นซักนิดหนึ่ง แต่การเตรียมงานต่างๆ ค่อนข้างจะเรียบร้อยหมดแล้ว ส่วนมากก็จะแยกย้ายเข้าห้องพักผ่อนทันที
เช้าต่อมากับใบหน้าที่สดชื่นของทุกคน แขกให้เกียรติมางานของเรากันเป็นจำนวนมากพอสมควร น้องๆ จากสถาบันการศึกษาก็มากันเยอะเช่นกัน แต่ดูแล้วแต่ละคนคุยกันเก่งมากๆ พี่ๆ จากกระบี่ที่เคยจัดอบรมก็มากันยกแก๊งเลย จังหวัดอื่นๆ ก็มาเช่นกัน รู้สึกดีใจมากที่ทุกคนให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะทั้งอยากได้ความรู้เรื่อง CSR หรือมาล่ารางวัล ฮ่าๆ หรืออยากมาฟังผู้บริหารของบริษัทผู้สนับสนุนของเรา หรือเรื่องของคุณธรรม คู่กำไรของ เอเชีย พรีซิชั่น พวกเราก็ยินดีอย่างยิ่งเลยที่ได้ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทุกๆ คน
มาถึงการระดมสมองของชาวสุราษฎร์ธานี (และการระดมสมองของทั้งภาคใต้ที่อยู่อีกห้องหนึ่ง) เราได้โครงการของ Creative CSR ที่น่าสนใจหลายโครงการคือ “โครงการลดพลังงาน” เนื่องจากภาคใต้ เป็นภาคเกษตรกรรมซะส่วนใหญ่ พลังงานจากการเกษตรส่วนหนึ่งเกิดจากไฟฟ้า น้ำมัน เชื้อเพลิง ซึ่งสิ้นเปลืองและมีราคาแพงตามเศรษฐกิจและกลไกของตลาด ทางกลุ่มจึงมีแนวคิดในการลดค่าใช้จ่าย โดยการนำพลังงานกลมาแปลงใช้กับภาคเกษตรกรรม โดยใช้จักรยานเก่ามาดัดแปลง ต่อเข้ากับเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำเข้าแปลงเกษตรกรรม ลดค่าใช้จ่ายทางด้านไฟฟ้า น้ำมัน ลดมลภาวะ ทำให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพดีขึ้น
ต่อมา คือ “โครงการอนุรักษ์พลังงานในครัวเรือน” โดยจัดอบรมให้ความรู้การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ให้แก่ชาวบ้าน จัดทำเอกสารเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สร้างศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงาน แนะนำการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เปลี่ยนเป็นแบบประหยัดไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างถ้าใช้ให้ดีและถูกวิธีจะสามารถประหยัดพลังงานและเงินของประเทศได้มาก ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ค่าใช้จ่ายบางส่วนลดลงเป็นการช่วยครอบครัวแบบง่ายๆ ที่ทำกันได้ทุกครัวเรือน

อีกทั้ง “โครงการท่องเที่ยวเมืองคนดี ศรีสุราษฎร์” สร้างเวปไซท์ประชาสัมพันธ์จังหวัด แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จัดกิจกรรมจังหวัดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น งานชักพระประเพณี งานแสดงสินค้า OTOP จัดประกวดคนดี ศรีสุราษฎร์ เป็นต้น ให้ผู้ประกวดทำกิจกรรม เพื่อสะสมคะแนน อาทิ การทำกิจกรรมเพื่อสังคม พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว เป็นตัวแทนสอนเชิญชวนชาวต่างชาติให้มาเที่ยว และนำเสนอของดีของจังหวัด รายได้จะเข้าจังหวัดมากขึ้น นักท่องเที่ยวจะได้เข้าใจถึงวัฒนธรรม ประเพณี และทำให้จังหวัดมีชื่อเสียง
และ “โครงการศูนย์บริการเพื่อชุมช” โดยฝึกอบรมให้มีทักษะวิชาชีพ ออกสำรวจท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ แจ้งให้ประชาชนได้เข้าร่วม จัดเตรียมสถานที่ในการให้บริการ ติดตามผลดำเนินกิจกรรม เพื่อการพัฒนาต่อไป นักศึกษามีการได้มาฝึกงานจริง เพื่อเป็นประสบการณ์ในการที่จะไปประกอบอาชีพในอนาคต นำความสะดวกมาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
โครงการสุดท้าย คือ “โครงการรักษ์อากาศ” มีการจัดทำอุปกรณ์กรองควันพิษจากท่อไอเสียรถมอเตอร์ไซด์ เพื่อลดมลพิษในอากาศ รณรงค์ให้ความรู้แก่คนในชุมชนให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดจากควันพิษ ตั้งคณะทำงานที่รับผิดชอบ เพื่อหาทีมงานและนักวิจัยมาผลิตอุปกรณ์ หาหน่วยงานสนับสนุนเรื่องงบประมาณ ผลิตอุปกรณ์ที่ทำจากธรรมชาติ หากลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลอง ประเมินโครงการและสรุปผล สภาพอากาศจะดีขึ้น สุขภาพแข็งแรง ลดการเกิดโรคทางเดินหายใจ และโรคมะเร็ง
(พี่หนึ่ง) มาถึงช่วงเวลาการประชุมระดมสมอง CSR ระดับภาคใต้ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้รวมชาว CSR จังหวัดต่าง ๆ ภาคใต้ทั้งหมด (ยกเว้น สุราษฎ์ธานี ซึ่งกำลังคิด Creative CSR ในเวลาเดียวกัน) โดยการระดมสมอง CSR ระดับภาคใต้ครั้งนี้เราได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกันครับ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้ระดมความคิดประเด็น CSR ที่สำคัญได้กลุ่มละ 1 ประเด็นด้วยกัน โดยกลุ่มที่ 1 ได้ยกประเด็นปัญหาสำคัญคือ “เรื่องเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร” ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อน CSR นั้นต้องมีการสร้างความรู้ในเรื่องเพศสัมพันธ์ให้แก่เยาวชนทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างถูกต้อง รวมถึงชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของประเด็นดังกล่าวโดยการขับเคลื่อนการทำ CSR ครั้งนี้ ต้องมีภาคเอกชนและภาครัฐให้การสนับสนุนอีกด้วย รวมถึงภาคสังคมด้วย เช่น สถานศึกษา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัวของเยาวชน วัด และบุคคลที่มีชื่อเสียงเช่น ดารา ดีเจ เป็นต้น
ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้ยกประเด็นที่สำคัญประเด็นที่ 2 คือ “การท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่น” เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ และทรัพยากรธรรมชาติทางภาคใต้ถือว่าเหมาะสมมากในการสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวแก่ประเทศ โดยแนวทางการขับเคลื่อนจะต้องมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญใน 14 จังหวัดภาคใต้ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ โดยมีการแต่งตั้งผู้นำทั้ง 14 จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรม CSR ดังกล่าว และยังมีการสร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรภาคเอกชน และภาครัฐ เป็นต้น ซึ่งต้องมีการจัดสร้างแผนของโครงการในระยะเวลา 5 ปีเพื่อเสนอให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทและสนับสนุนทางงบประมาณอย่างจริงจังอีกด้วย
มาถึงกลุ่ม 3 ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายได้ยกประเด็นที่สำคัญประเด็นที่ 3 ก็คือ “โครงการพูดสั้นได้ใจความ ประหยัดเงิน ประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อนเพื่อโลก” โดยเริ่มจากการจัดกิจกรรมในชุมชนวิทยาลัย (สถานศึกษาต่าง ๆ) เพื่อก่อตั้งแกนนำในการอนุรักษ์ และมีการเชิญแกนนำดังกล่าวเข้าร่วมอบรมเพื่อขยายผลให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติอีกด้วย ซึ่งโครงการนี้จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ และโฆษณาให้ดึงดูดต่อกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดอีกด้วย ส่วนของเครือข่ายทำงานนั้นต้องประกอบไปด้วยสถานศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานกระทรวงพลังงาน เป็นต้น และยังต้องมีการพึ่งภาครัฐในแง่ของงบประมาณในการสนับสนุนการก่อตั้งชมรมและกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย
(นายแม็กซ์) มาถึง CSR ระดับภาคใต้ เราก็ได้รับเกียรติจาก คุณสัมฤทธิ์ สว่างคำ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล บริษัท เอเชีย พรีซิชั่น จำกัด แทนคุณ อภิชาต การุณกรสกุล อีกเช่นเคย คุณสัมฤทธ์ ได้มาร่วมแชร์ เล่าถึงประสบการณ์ และกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำร่วมกับทุกๆ คนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นทั้งพนักงานหรือแม้แต่ผู้บริหาร คนไทย คนต่างชาติ ที่บริษัทได้จัดขึ้นทั้งสิ้น เพื่อเป็นการละลายพฤติกรรม เพิ่มระเบียบวินัย เข้าใจซึ่งกันและกัน เพิ่มความสามัคคี รู้จักปรองดอง ช่วยเหลือกัน และไม่เอารัดเอาเปรียบ ซึ่งทุกๆ อย่างล้วนสำคัญยิ่งกับการพัฒนาองค์กรไปอย่างยั่งยืน เรามีการไปฝึกระเบียบวินัยและพัฒนาตนเองที่ค่ายทหาร แต่ก็ไม่มีใครถอย มีการให้นายทหารมาตรวจกิจกรรม 5 ส. ถึงองค์กร โดยเน้นการทำโทษในแบบของทหาร คือ การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะอยู่ระดับสูงแค่ไหนล้วนเท่าเทียมกันทั้งสิ้นในการรับโทษ เราต้องทำโรงงานให้เหมือนบ้าน ให้เป็นที่รักของพนักงาน ปกติแล้วโรงงานส่วนใหญ่จะไม่ชอบให้มีการแต่งงานกันเอง แต่เราตรงกันข้ามและมีการให้รางวัลคู่รักหวานที่สุด พอมีลูก ทางเราก็สนับสนุนทุกๆ อย่างเท่าที่จะทำได้ มีโครงการวันแม่ ที่ทำให้ลูกๆ หลายคนได้กลับบ้าน หรือได้คุยกับพ่อแม่ ได้ปรับความเข้าใจกัน อย่างไรก็ตามเงินเป็นสิ่งสำคัญ เราต้องให้เงินอย่างเป็นธรรมด้วย ปกติแล้วเวลาทำหน้าที่ต่างๆลุล่วงแล้วที่อื่นจะร่วมกันเฮ แต่ที่ เอเชีย พรีซิชั่น ให้ตะโกนว่า เนี้ยบ เป๊ะ ลุย! เนี้ยบ คือ การใส่ใจปฏิบัติงาน ด้วยความระเอียดรอบคอบ เพื่อคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด เป๊ะ คือ ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ให้เสร็จในกำหนดเวลาทุกครั้ง และลุย คือ ทุ่มเทปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ แรกๆ ก็อายไม่กล้าพูดกัน แต่ตอนนี้ทุกคนก็ออกเสียงดังได้อย่างเต็มปากเต็มคำกับความภูมิใจในบริษัทของตน
ไม่ว่าจะฟังกี่ครั้งก็รู้สึกประทับใจกับ เอเชีย พรีซิชั่นจริงๆ ครับ หวังว่าหลายๆ ท่านที่ได้รับฟัง จะนำแนวคิดแบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในที่ทำงานเช่นกัน วันนี้การสัมมนาอาจจะดูยากซักนิด เพราะว่าเด็กๆ ที่มาร่วมงานมีทั้งตั้งใจฟังบ้าง คุยบ้างตามประสาวัยรุ่น เราจึงต้องยืนคุมอย่างเคร่งครัด น้องๆ ที่ตั้งใจฟังก็มีมาถามบ้างว่า เค้าทำแบบนั้นจริงๆ หรอ มีให้นอนกลางวันด้วย ก็ไม่แน่นะครับ น้องๆ ที่สนใจอาจจะได้เข้าไปทำงานที่บริษัทนี้ หรือบริษัทดีๆ อีกหลายแห่งก็เป็นได้

(พี่หนึ่ง) และแล้วก็มาถึงช่วงการเสวนาของท่านผู้บริหารทั้ง 3 ท่านจาก บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย บมจ. กสท โทรคมนาคม และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) มาร่วมเสวนาในหัวข้อ Creative CSR in Slowdown Economy โดยพิธีกรคือ คุณกนกพร ราชโยธา นักจัดรายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัดชุมพร ซึ่งบรรยากาศในการเสวนาเต็มไปด้วยความสนุกสนานผสมสาระความรู้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหารจากทั้ง 3 บริษัทดังนี้

เริ่มจาก CAT ทางผู้บริหารก็ได้กล่าวเรื่องของความเป็นมาของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ซึ่งทาง CAT ก็เป็นผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ระหว่างประเทศ , Data Com , IT Security , E-business และ ระบบ CDMA เคลื่อนที่ เป็นต้น ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ณ ปัจจุบันนี้ทาง CAT ก็ได้มีการทำ CSR ผ่านทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กรโดยในส่วนของการทำ CSR ภายในองค์กรก็จะเป็นด้านการทำ CSR ให้หลอมรวมเป็น Master Plan ขององค์กรและที่สำคัญต้องเกิดการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานโดยผ่านการสร้าง DNA สำนึกดีต่อสังคมอีกด้วย ส่วนการทำ CSR ภายนอกองค์กรนั้นทาง CAT ก็ได้มีโครงการต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น โครงการ Young Web Designer และโครงการจิตอาสาบริจาคสิ่งของผ่านพนักงานของ CAT อีกด้วย และในอนาคตทาง CAT ได้มองว่าการทำ CSR ต้องมีการทำอย่างยั่งยืนแข็งแกร่ง และต้องสร้างให้สังคมเกิดการมีส่วนร่วมซึ่งโครงการ CSR Campus ก็ถือว่าเป็นโครงการหนึ่งที่จะทำให้สังคมเกิดการมีส่วนร่วมในเรื่องของ CSR อีกด้วย

ต่อมาเป็นทางผู้บริหารของ Toyota ที่ได้เกริ่นนำว่าทาง Toyota เป็นธุรกิจที่ประกอบกิจการด้านรถยนต์ทั้งผลิตและขาย โดยทาง Toyota มองว่าการทำธุรกิจนั้นไม่สามารถใช้สินค้าเป็นตัวผลักดันธุรกิจอย่างเดียวได้ แต่จำเป็นต้องมีบางอย่างที่สร้างให้ประชาชนเกิดศรัทธากับ Toyota ซึ่งก็คือเรื่อง CSR นั่นเอง โดยทาง Toyota ได้ตระหนักถึงเรื่อง CSR มานานมากแล้วผ่านโครงการถนนสีขาว เนื่องจาก Toyota เป็นบริษัทที่มีการจำหน่ายรถยนต์ค่อนข้างสูงเพราะฉะนั้นก็ควรจะมีส่วนในการช่วยเหลือสังคมในเรื่องของการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย โดยโครงการถนนสีขาวจะเน้นการสร้างจิตสำนึกการขับขี่ที่ดีแก่เยาวชนผ่านการขับขี่จริงในเมืองจำลอง ผ่านการแนะนำของพี่เลี้ยงอีกด้วยและในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ณ ปัจจุบันนี้ทาง Toyota ก็มีแนวทางในการทำ CSR ด้วยการสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนแก่ Supplier และ Dealer ต่าง ๆ ให้เข้าถึงว่า CSR คือ การคิด 360 องศาสำหรับการกระทำของเรานั่นเอง เช่น เวลาที่เราจะทิ้งขยะ 1 ชิ้นเราต้องคิดว่าการทิ้งขยะครั้งนี้ของสร้างผลกระทบแก่ใครบ้างในมุมมอง 360 องศา เป็นต้น และทาง Toyota จะเน้นการทำ CSR แก่ชุมชนให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้นโดยลดการทำ CSR ในรูปแบบการบริจาคให้ลดลง แต่จะเพิ่มในส่วนของการสร้างความรู้และอาชีพแก่ชุมชนทดแทนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

และสุดท้ายก็คือทาง Dtac ซึ่งทาง Dtac ก็มีการดำเนิน CSR มาโดยตลอดและยาวนานเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นโครงการสำนึกรักบ้านเกิด และโครงการทำดีทุกวัน ซึ่งทุกโครงการเติบโตภายใต้รากฐานแนวคิดที่ว่า "ธุรกิจต้องเติบโตไปพร้อมกับสังคมไทย" ซึ่งโครงการแรกของ Dtac ก็คือโครงการสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งเป็นโครงการที่มอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนตั้งแต่ระดับมัธยมต้นจนถึงระดับปริญญาตรี ซึ่งระหว่างที่เยาวชนเหล่านี้กำลังศึกษาอยู่ต้องมีการทำงานร่วมด้วยเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ในการทำงาน และยังเป็นการสร้างช่องทางให้เยาวชนเหล่านี้มีโอกาสได้นำความรู้มาใช้จริงในการทำงาน ก่อนที่จะออกไปทำงานจริง ๆ เป็นต้น (จริง ๆ โครงการ CSR ของ Dtac มีประมาณ 300 โครงการเห็นจะได้นะครับท่านผู้ชม) และแนวทางในการดำเนิน CSR ในอนาคตของ Dtac ก็จะเน้นการเชื่อมต่อ CSR ระหว่างประเทศซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมกิจกรรม CSR ระหว่างกันในแต่ละประเทศอีกด้วย
ในวันนี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานีได้แก่ อาจารย์มณฑา หมื่นชนะ โดยอาจารย์ได้เล่าให้ฟังว่า “จากทีแรกไม่เคยรู้จักคำว่า CSR มาก่อนแต่มาวันนี้ทำให้รู้ว่า CSR คือความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งจะทำให้ช่วยให้นักศึกษารู้บทบาทหน้าที่และสร้างประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วยรวมถึงความรู้ส่วนนี้ต้องมีการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังอีกด้วย ส่วนเรื่องพลเมืองบรรษัทจะต้องนำไปถ่ายทอดผ่านทั้งการพูดหน้าเสาธง และให้ทางฝ่ายบริหารนำไปสอดแทรกในการปฏิบัติอีกด้วย”

(นาแม็กซ์) เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับการประชุม CSR ระดับภาคใต้ ใครที่ได้มาร่วมงานอาจจะประทับใจกว่าที่ได้อ่านนะครับ ภารกิจและการเดินทางออกต่างจังหวัดของเราทั้งสองทีมก็ปิดฉากลงที่จังหวัดสุราษฎร์นีครับ แต่สิ่งที่ทุกท่านได้อ่านหรือติดตามมาตลอดนั้น ถ้าสังเกตดีๆ จะมีอีกหนึ่งจังหวัดที่เรายังไม่ได้ไป ลองเดาๆ ดูนะครับว่าเป็นที่ไหน ผมใบ้ให้ละกันครับว่า เป็นการประชุม CSR ระดับประเทศนั่นเองครับ ใบ้ให้ขนาดนี้ก็น่าจะรู้กันแล้วนะครับว่าจะเป็นที่ไหน

การเดินทางไปต่างจังหวัดนั้นทั้งพี่หนึ่งและผม (นายแม็กซ์) ได้รับประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเรื่องอาหาร การเข้าหาคนอื่น มารยาทต่างๆ การพูดโน้มน้าวคน วัฒนธรรมและรูปแบบอุปนิสัยของคนในแต่ละท้องที่ ที่พักในแต่ละจังหวัด ถนนหนทางต่างๆ สภาพแวดล้อม วิวทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยความประทับใจ และสิ่งต่างๆ ที่เคยได้เห็นแต่ในรายการทีวี ก็ได้มีโอกาสเห็นของจริงมากมาย หวังว่าสิ่งต่างๆ ที่พวกผมได้กระทำลงไป ล้วนแล้วแต่อยากให้ทุกคนได้รับความสนุกสนาน พร้อมทั้งความรู้จาก อาจารย์ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ อาจารย์ฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ อาจารย์วุฒิพงศ์ บัวบุตร์ คำสอนของอาจารย์สุธิชา เจริญงาม ความสะดวกสบายและข้อคำแนะนำต่างๆ จากพี่สาว พี่ผึ้ง พี่แอน พี่น้อง การติดต่อประสานงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวของ พี่หมู พี่แนน และเทคโนโลยีต่างๆ จากน้องอาลีฟ และทีมงานสาวที่เป็น Back up ด้วย สิ่งใดที่พวกผมได้ทำพลาดไปหรือส่งผลให้บางท่านไม่พอใจก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชชูปถัมภ์ ที่ได้ให้โอกาสพี่หนึ่งและผม ได้ร่วมเส้นทางและเดินทางไปพร้อมกับการทำ CSR ในเมืองไทย ขอขอบพระคุณแก่ผู้สนับสนุนของเราอย่าง CAT Dtac และ Toyota ที่ได้มาแชร์เรื่องราวกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำให้กับสังคมไทย ขอบคุณบริษัทเอเชีย พรีซิชั่นที่ให้แนวคิดมากมายในการปฏิบัติภายในองค์กรครับ และที่จะขาดไม่ได้เลย ต้องขอขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CSR Campus ทุกท่านที่มีส่วนสำคัญในการช่วยกันเผยแพร่สิ่งดีๆให้เกิดเป็นรูปร่างให้กับสังคม

แล้วเจอกันที่การประชุม CSR ระดับประเทศนะครับ สวัสดีครับ! (สรุปไปจังหวัดอะไร........)

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระนอง

และในระหว่างที่เราเดินทางเพื่อเข้าสู่จังหวัดระนองผมสังเกตระยะทางก็ประมาณ 200 กว่ากิโลเมตรนะครับแต่เห็นพี่ที่โรงแรมเคยบอกว่าต้องเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ทีแรกเราก็งงเพราะคิดว่าน่าจะใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น พอถึงเวลาจริงรถตู้เริ่มออกเดินทาง แหม พอสังเกตถนนแล้วผมก็ถึงกับยอมรับทันทีครับว่าน่าจะกินเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงแน่นอน เพราะเส้นทางถูกถอดแบบโค้งมากสามารถบอกได้ว่าน้อง ๆ แม่ฮ่องสอนเลยครับ บางโค้งก็สุดยอดอันตรายเลยครับในขณะที่เรานั่งรถโค้งไปมาทุกคนก็หลับกันหมดแล้วครับ เหลือแต่กระผมกับพี่รถตู้ 2 ท่านที่ยังตาสว่างอยู่พร้อมกับบทเพลงที่ขับกล่อมโดยพี่ เบน ชลาทิศ (นึกในใจว่าบทเพลงของพี่เบนเสี่ยงต่อการทำให้พี่คนขับหลับง่ายเหลือเกิน)

สักพักผมก็งีบไปแบบไม่รู้ตัว พอตื่นมาอีกทีรถตู้ก็มาจอดที่ปั๊มแล้วครับ กระผมก็เลยขอเดินไปที่มินิมาร์ทเพื่อดูหนังสือพิมพ์สตาร์ซ็อคเกอร์อีกครั้ง เพราะตอนนี้หนังสือในคลังของผมเกลี้ยงหมดแล้ว (อ่านหมดแล้วนั่นเอง) ในขณะค้นหาหนังสือพิมพ์ก็ปรากฎว่าไม่เจอหนังสือพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด เฮ้อ ไม่มีอะไรอ่านแล้วเรา กระผมจึงเดินไปถามน้องตรงเคาน์เตอร์ว่าที่นี่คือส่วนไหนของจังหวัดระนองครับ แต่คำตอบกลับมาดันทำให้ผมทรุดลงทันทีว่า “ที่นี่ยังเป็นเขตจังหวัดพังงาอยู่ค่ะ” โอ้ แม่เจ้านี่กระผมใช้โควตาหลับผสมด้วยไปแล้วนะเนี่ยยังไม่เฉียดแผ่นดินระนองเลยเหรอ ตอนนี้รถตู้ก็เริ่มกำลังออกเดินทางอีกครั้งกระผมก็ไปเห็นป้ายระนองอ่านว่า ระ-นอง-หนึ่ง-ร้อย-ยี่-สิบ-หก-กิ-โล-เมตร!!! กระผมจึงต้องทำใจต่อไป

หลังจากนั่งทำใจไปทำใจมาก็กินเวลาไปประมาณ 2 ชั่วโมงและเราก็มาถึงโรงแรมทินิดี โดยก่อนผ่านมาที่โรงแรมกระผมก็ได้เห็นสภาพบ้านเมืองของชาวจังหวัดระนองที่ดูคึกคักกว่าจังหวัดที่ผ่านมา แล้วเราก็ทำการ Check In เป็นที่เรียบร้อย แหม ระหว่างทางเดินที่จะเข้าไปยังห้องพักก็มีกลิ่นตะไคร้หอมทั่วโรงแรมเลยครับ (ประมาณว่าอย่ามียุงบินหลงเข้ามาแล้วกัน เพราะแทบจะเมากลิ่นตะไคร้หอมเลยครับ) หลังจากเข้าห้องพักเรียบร้อยกระผมก็เริ่มพิมพ์ Blog ของจังหวัดพังงาต่อไป (แหม ช่วงนี้ Update Blog ไวมากครับ) สลับกับดูทีวีไปด้วยทำไปสักพักก็เริ่มง่วง กระผมเลยรีบไปอาบน้ำเพื่อเตรียมตัวเข้านอน

และเมื่อเสียงติ๊ด ๆ เช่นเคย นาฬิกาปลุกอีกแล้ว!! กระผมก็กระโดดจากเตียงเพื่อไปปฏิบัติภารกิจส่วนตัวทันที หลังจากเสร็จธุระเรียบร้อยกระผมก็มานั่งเล่น Internet สักพัก ก็ได้เห็นคำ ๆ หนึ่งคือ Que Sera Sera เป็นเพลงประกอบโฆษณาของไทยประกันชีวิตนั่นเอง เห็นภาพแล้วก็ซึ้งมากเลยครับ หลังจากทราบความหมายก็รู้ว่า Que Sera Sera แปลว่า อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ซึ่งผมมองว่าความหมายง่าย ๆก็คือการยอมรับความจริงนั่นเองซึ่งตรงกับคำว่า CSR อย่างชัดเจนกระผมจึงนำโฆษณาตัวนี้มาให้ท่านผู้ชม Blog ดูกันครับ








ตอนนี้กระผมก็ทานอาหารเช้าเป็นที่เรียบร้อยและเตรียมพร้อมที่จะไปจัดงาน CSR Campus จังหวัดระนองทันทีโดยในวันนี้ก็มีผู้เข้าฟังที่หลากหลายทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงนักศึกษาอีกด้วย มาถึงกิจกรรมแรกก็คือ กิจกรรมหน้าที่พลเมืองและพลเมืองบรรษัทซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดระนองดังนี้ อาทิ การเป็นผู้มีความสวามิภักดิ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นประมุขแห่งชาติด้วยการถวายพระพรทุกครั้งที่มีวันสำคัญ และส่งกำลังใจให้ท่านหายไว ๆ เวลาท่านทรงพระประชวร ส่วนอีกหัวข้อ คือ การเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนในศาสนาอย่างเคร่งครัดด้วยการไม่ฆ่าสัตว์และไม่เบียดเบียนผู้อื่นอีกด้วย ส่วนในหัวข้อพลเมืองบรรษัทก็มีที่น่าสนใจ อาทิ ส่งเสริมให้พนักงานมีศาสนธรรมเพราะจะทำให้พนักงานทำงานภายใต้คุณธรรมซึ่งทำให้องค์เกิดความยั่งยืนอีกด้วย ส่วนอีกข้อก็ผู้นำเสนอได้ให้ความสำคัญในเรื่องศาสนธรรมเหมือนกันเพราะศาสนาเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างรับผิดชอบ

มาในช่วงพักผมก็มีโอกาสได้คุยชาวระนองบางท่านซึ่งก่อนมาในวันนี้ผมได้ทราบว่าจังหวัดระนองเป็นจังหวัดที่มีความคึกคักเพราะสถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับ Casino ของประเทศเมียนม่า (พม่านั่นเอง) แถมยังมีปัญหาตามมาอีกเรื่องในแง่ของคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในจังหวัดระนองก็คือชาวพม่านั่นเอง ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวระนองอย่างมาก หลังจากผมฟังไปแล้วก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัดระนองเช่นกันนะเนี่ย หากมีผู้ใหญ่ใจบุญมาอ่านเรื่องราวตรงนี้ก็ขอให้ลงไปช่วยแก้ปัญหาด้วยนะครับ หลังจากทานอาหารเที่ยงเสร็จกระผมก็รีบเข้าห้องประชุมเพื่อเตรียมงานในตอนบ่ายต่อไป

มาถึงช่วงกิจกรรม CSR เชิงระบบที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดระนองดังนี้ อาทิ การสร้างความเข้าใจในเรื่อง CSR ขององค์กร โดยเริ่มจากการอธิบายถึงข้อดีของการมี CSR และข้อเสียหากขาด CSR แก่ผู้บริหารภายในองค์กร และหลังจากนั้นค่อยอธิบายให้หัวหน้างานหรือพนักงานเข้าใจต่อมาซึ่งการทำ CSR ครั้งนี้พนักงานสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านของตนได้อีกด้วย ส่วนอีกท่านก็ได้เสนอการสร้างความเข้าใจในเรื่อง CSR เช่นเดียวกันโดยเริ่มจากการจัดสัมมนาให้ความรู้ CSR โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้เรื่อง CSR มาให้ความรู้ และมีการเชิญบุคลากรไปดูงานในบริษัทที่มีการทำ CSR แล้วประสบความสำเร็จอีกด้วย รวมถึงมีการติดตามผลทุก ๆ 3 เดือนอีกด้วย

ต่อมาเป็นกิจกรรม Creative CSR ที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดระนองดังนี้ อาทิ “โครงการสองล้อสองชนชาติ” โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานพร้อมส่งแรงงานต่างด้าวเข้ารับการอบรมกฎระเบียบในการใช้รถจักรยานยนต์บนท้องถนน จัดกิจกรรมให้กับตัวแทนในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการปั่นจักรยานกำจัดขยะบนท้องถนน และพื้นที่ต่าง ๆ ที่พบเห็นขยะด้วย

ต่อมาเป็น ”โครงการเสริมสร้างสุขอนามัย แม่และบุตรชาวพม่าในระนอง” เริ่มการส่งเสริมการคุมกำเนิดของชาวต่างด้าวในจังหวัดระนองก่อน โดยหากมีการคลอดของชาวต่างด้าวเกิดขึ้นในจังหวัดระนองจะไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์ให้ รวมถึงภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีการเข้มงวดในการจำกัดการเข้าออกของชาวต่างด้าวในจังหวัดระนองทั้งในเรื่องของการรับคนต่างด้าวเข้ารับทำงานด้วย และสุดท้ายจัดให้มี Hot Line หากเห็นการคลอดบุตรของชาวพม่าในประเทศไทยให้โทรแจ้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปจัดการทันที

สุดท้ายวันนี้กิจกรรม CSR Campus ของจังหวัดระนองก็สำเร็จลุล่วงลงแล้วครับ ตอนนี้ทีมงาน CSR Campus ของเราก็ได้ดำเนินกิจกรรม CSR Campus ได้เกือบครบทั่วทุกจังหวัดแล้วนะครับเหลือแค่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ เท่านั้น (เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหกเช่นกัน) หลังจากเราเก็บของเรียบร้อยเราก็เตรียมออกเดินทางสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นสถานีต่อไปแล้วครับ ซึ่งเราก็ได้ฝากท้องร้านอาหารนินจาด้วย หลังจากรับประทานแล้วรู้สึกว่าอาหารไม่ไวสมชื่อเหมือนชื่อร้านเลยครับ นับเวลาหลังจากตั้งแต่สั่งอาหารจนอาหารโผล่มาอยู่บนโต๊ะก็ใช้เวลาไปประมาณ 45 นาที ซึ่งแขกทั้งร้านมีแค่กลุ่มทีมงานเราเท่านั้นครับและแต่ละคนก็สั่งแค่อาหารจานเดียวซะด้วย หลังทานเสร็จเราก็พร้อมมุ่งหน้าซึ่งเป้าหมายต่อไปนั่นก็คือจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อเตรียมพร้อมงานสัมมนา CSR Campus ระดับภาคใต้ต่อไปครับ

ชุมพร

จะว่าไปแล้วตอนนี้เราอยู่บนถนนสายที่ตรงอย่างเดียวและยาวมากครับ ระยะทางก็ไกล นั่งดูหนังจบไปสองเรื่องก็ยังไม่ถึงแต่เราไม่อารมณ์เสียครับ เพราะระหว่างทางเราได้แวะทานอาหารกันที่ร้าน “ร้านชาวเรือ” ร้านนี่ลงไปก็ทึ่งอยู่ครับ เพราะรู้สึกว่าเจ้าของจะชอบตกปลามากๆ เลย มีรูปตัวเจ้าของเอง เพื่อนๆ และลูกที่ถือปลาตัวใหญ่มากในมือ ถ่ายเก็บไว้บนผนัง สังเกตได้ว่าเบ็ดตกปลาตั้งไว้เรียงเป็นระเบียบทีเดียว อาหารของเราวันนี้ก็เลิศมากครับ เพราะสั่งปลาจาระเม็ดมาลิ้มรสกัน ผมได้เดินสำรวจรอบๆ ร้านมีปลาสตาฟ มากมายเลย มีฟันปลาฉลาม ปลากระทงตัวยาวประมาณ เกือบ 2 เมตรเห็นจะได้ (รวมปากกับหางนะครับ) มีโครงกระดูกของปลาพันธุ์หนึ่งซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเป็นปลาอะไร ถามได้ความว่าเป็นลูกของปลาวาฬ หรือฉลามวาฬ อืม...ผมก็จำไม่ได้ครับ ต้องขออภัยด้วย

เราเดินทางมาถึงที่หมายจนได้ครับ ดูจากสภาพหน้าแต่ละคนท่าทางจะ หมดแรงอย่างยิ่ง ไม่มีการนัดแนะอะไรทั้งสิ้น ว่าเจอกี่โมงทุกคนตรงไปยังห้องพักตนเองทันที เช้าต่อมาไม่อยากลุกจากเตียงเลยจริงๆ ครับ เบาะมันช่างนุ่มสบายจริงๆ แต่ก็ต้องบังคับให้ลุก เพราะเรามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบครับ การบรรยายเริ่มอย่างราบรื่นเหมือนเคย วันนี้มีนักศึกษามาร่วมเกินครึ่งทีเดียว จะว่าไปแล้วตั้งแต่มาภาคใต้ หลายๆ จังหวัดที่ผมไปนั้น มีผู้นำชุมชนมาเข้าร่วมด้วย ดีมากเลยครับ เพราะบางท่านอาจจะรู้สึกได้ถึงการพัฒนาต่างๆ และนำไปใช้กับสิ่งรอบๆ ตัวท่านได้ เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนหลายๆ อย่าง ก็หวังว่าครั้ง ต่อๆ ไปจะมีผู้เข้าร่วมจากหลายๆ ตำแหน่งมากกว่านี้ครับ

หน้าที่พลเมืองของชาวชุมพร ผู้นำเสนอท่านแรกเป็นผู้มีความสวามิภักดิ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ ท่านที่สองก็เน้นในเรื่องผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ต้องประกอบธุรกิจโดยสุจริต แสวงหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา เพียงพอและพอเพียงกับประโยชน์ที่ได้มา ส่วนอีกท่านหนึ่งได้เลือกในทุกหัวข้อ ไม่คดโกง ลักขโมยของคนอื่น ไม่นินทาผู้อื่น เคารพกฎหมายบ้านเมือง จงรักภักดีต่อประมุข ในเรื่องของความเป็นพลเมืองบรรษัท เน้นย้ำในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ประกอบธุรกิจสุจริต และต้องใช้ศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เป็นนิสัยและนำมาใช้กับชีวิตประจำวัน จะทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า

กิจกรรม CSR เชิงระบบวันนี้ อยากให้องค์กร เข้าร่วมในความริเริ่มทาง CSR โดยสมัครใจ เป็นกิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้พนักงาน มีใจรักและรับผิดชอบต่อสังคม แนะนำช่วยเหลือผู้อื่น ปลูกฝังให้เด็กมีความรัก สามัคคีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมต่อมา อยากให้เน้นความเข้าใจเรื่อง CSR ขององค์กร อยากให้พนักงานเพิ่มความเข้าใจในงานที่ทำ (งานบริการและท่องเที่ยว) รู้จักแหล่งท่องเที่ยวต่างๆเป็นอย่างดี สร้างความสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่น ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ อบรมความรู้และนันทนาการในการบริการ อยากให้มีการอบรมภายในโรงเรียน เพื่อความเข้าใจด้าน CSR จะกระจายไปสู่ชุมชน ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดอบรมคณะครู อาจารย์ นักเรียน รวมไปถึงผู้ปกครอง และสามารถนำความรู้ที่ได้ปรับใช้ในชุมชนหรือชีวิตประจำวันได้

สำหรับกิจกรรม Creative CSR ของชาวชุมพร เราได้โครงการที่น่าสนใจ 3 โครงการ คือ “โครงการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต” คิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มผลผลิตกาแฟ เก็บมาเข้ากระบวนการตาก เพื่อนำเข้าโรงสี หลังจากผ่านกระบวนการจะมีกากที่เกิดจากสังกะสี ซึ่งปกติชาวบ้านจะนำไปเผา ทำให้เกิดมลพิษ นำกากกลับมาใช้ประโยชน์อีกโดยการนำกากมาทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำมาให้เกษตรกร ช่วยดูแลหน้าดิน นำมาทำยาฆ่าแมลง กลายเป็นสินค้า OTOP โครงการนี้ช่วยลดมลพิษ ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในท้องถิ่น ประชาชนมีร่างกายแข็งแรง เป็นแนวเศรษฐกิจพอเพียงอีกทางหนึ่ง

ต่อมา คือ “โครงการเครื่องถอดเกล็ดอัตโนมัติ” เนื่องจากชุมพรมีอาณาเขตติดกับทะเล ประชาชนบางส่วนประกอบอาชีพประมง และปลาก็เป็นสิ่งที่ต้องนำมาประกอบอาหาร ฉะนั้นเพื่อการประหยัดเวลา จึงคิดทำเครื่องถอดเกล็ดปลาอัตโนมัติ นำปลามาใส่เครื่องถอดเกล็ด จะมีการวัดน้ำหนักของปลาในเครื่อง และไปยังขั้นตอนถอดเกล็ด หลังจากถอดเกล็ดแล้วปลาจะลงมาที่สายพานไปยังถังบรรจุ ประหยัดเวลาและได้ปลาจำนวนเยอะกว่าใช้คนทำ มีความสะอาดเนื่องจากอุปกรณ์มีการดูแลอย่างเอาใจใส่ ภัตตาคารต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้

และ “โครงการสุนัขปอกมะพร้าว” ปัญหาเรื่องสุนัขกัดคนมีมากในยุดปัจจุบัน อาจจะมาจากโลกร้อน และอาการเครียดของสุนัข ฝึกให้สุนัขเหล่านี้ผ่อนคลายโดยการกัดมะพร้าวหรือปอกมะพร้าว จะได้ไม่ต้องไปกัดคน มะพร้าวของชุมพรก็มีอยู่มากมาย ทำให้มะพร้าวกลายเป็นของเล่นของสุนัข เปลือกมะพร้าวก็เอาไปทำปุ๋ยได้อีกต่อหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ช่วยลดหมาจรจัด สุขภาพสุนัขก็ดีเป็นการช่วยสัตว์โลก นำสุนัขไปโชว์ได้ ได้เงินจากการโชว์ก็นำไปบริจาคให้กับมูลนิธิสุนัขจรจัดส่วนหนึ่ง

ในวันนี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์กิตติญา ช่วยนุกิจ จากโรงเรียนศรีอำไพ จังหวัดชุมพร ท่านกล่าวว่า “ปกติก็ตั้งชมรมสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วด้วย ชื่อว่าชมรมคนรักษ์อ่าว และคิดว่าทางสถาบันก็เน้นในเรื่องนี้ ก็ได้รู้เรื่อง CSR เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง CSR และเศรษฐกิจพอเพียงด้วย อยากให้มาจัดอีก แต่ควรประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ เรื่องหน้าที่พลเมืองก็ดี อยากให้ใส่บาตรกัน เป็นการบำรุงศาสนา เป็นการเอาฤกษ์ที่ดีมากในตอนเช้า คิดดี ทำดี”

เราไม่รอช้าครับวันนี้ รีบเดินทางออกจากชุมพรอย่างรวดเร็ว เพราะว่างานใหญ่รอเราอยู่ครับ เป็นงาน CSR ระดับภาคใต้ ที่จะมีขึ้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า วันที่ 26 ตุลาคม 2552 ใครสนใจก็ไปกันนะครับ ท่านจะได้ความรู้ ความเข้าใจหลายๆ อย่าง ว่า CSR ทำแล้วจะยั่งยืนเพียงใด มีกิจกรรมใดน่าสนใจที่จะสามารถนำแนวคิดกลับมาใช้กับองค์กรของแต่ละคนได้

จะว่าไปแล้วในวันพรุ่งนี้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นจังหวัดสุดท้ายของการเดินทางออกต่างจังหวัด สำหรับทั้งทีมอาจารย์วุฒิพงศ์และอาจารย์ฌานสิทธิ์แล้วนะครับ หวังว่าเรื่องราวการเดินทางจากคนเขียนอารมณ์ดี (หน้าตาด้วยได้ไหม) จะทำให้ทุกท่านสนุกสนานเรื่อยมานะครับ ที่สุดท้ายสำหรับต่างจังหวัดของปีนี้จะเป็นอย่างไร โปรดติดตามกันที่ www.csrcampus.blogspot.com นะครับ สวัสดีครับผม!

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นครศรีธรรมราช

เราได้เดินทางออกจากกระบี่ในเวลา 6 โมงเย็น อาจจะเสียเวลาในการรอข้อมูลจากทางกรุงเทพฯ ไปบ้าง และกับการที่มีแขกสนใจไปร่วม โครงการระดับภาคใต้ของเราเป็นจำนวนพอสมควรทำให้ต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน เลยกระทบมาถึงเวลาที่จะใช้เดินทางไปยังจังหวัดต่อไป แต่ก็ไม่มีปัญหาครับ เพราะเราฝากท้องไว้กลับ ภัตตาคาร SEVEN ELEVEN ซึ่งมีทุกแห่งหน ผมกับอาจารย์พงศ์ รู้สึกมีความสุขมากกับการที่ได้กิน อาหารง่ายๆ เพราะเบื่อมากแล้ว เราใช้เวลาไม่นานมากคาดว่าประมาณ 2 ชั่วโมงเห็นจะได้ก็ถึงที่หมายครับ ค่อนข้างจะดึกมากแล้ว ก็รีบแยกย้ายเข้าห้องหลัง Check In ทันที

เช้าตื่นมาพร้อมอากาศที่สดชื่น มีพลังเต็มที่รีบอาบน้ำแต่งตัว เพื่อที่จะลงไปเตรียมห้องให้พร้อมกับการสัมมนา หลังจากที่แขกเข้ามากันเกือบจะครบตามรายชื่อแล้ว วันนี้เรามีแขกจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาร่วมอบรมด้วย วันนี้ผมสังเกตได้ว่า ชาวนครฯ ค่อนข้างจะจริงจัง และดุ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำตลอดเวลา ผมจึงไม่กล้าที่จะเล่นอะไรมากมายครับ แต่ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีความกระตือรือร้นในการที่จะทำกิจกรรมทุกๆ กิจกรรมที่เราจัดให้

หน้าที่พลเมืองของชาวนครฯ ส่วนใหญ่จะเลือกกันแทบจะทุกหัวข้อ พากเพียรหาเครื่องเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ถือศีล 5 อย่าให้ขาด ไม่ทำผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เป็นปกติของคนไทยที่ต้องรักแผ่นดินและต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน ควรรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมตามบทบาท ควรยึดแนวทางการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำหริ ชาวนครฯก็อยากให้องค์กรในจังหวัด มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ประเทศชาติมีความสุข จะทำให้สามารถช่วยเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น อยากให้พนักงานทุกๆ คน ใช้ศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มีการทำงานกันอย่างสันติ

ในวันนี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ ร.ต.พิเชษฐ อักษรพันธ์ จากโรงเรียนมัธยมบุญดาอุปการ ท่านกล่าวว่า “จริงๆ แล้ว ยังไม่ค่อยรู้จักในเรื่องนี้ สิ่งที่ได้ในวันนี้ก็ดี ได้เรียนรู้ในการบริหารงานต่างๆ ก็จะได้นำไปศึกษาและนำมาใช้ ก็ดีที่มาจัด เพราะที่นี่เป็นเมืองที่น่าพัฒนา นำเรื่องหน้าที่พลเมืองไปสอนได้ จากประสบการณ์เรื่องหน้าที่พลเมืองเป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้ ไม่ว่าจะในสิ่งที่ทำหรือคิด ก็จะนำไปพัฒนากับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน บางครั้งก็มีการบกพร่องอยู่ จะได้เอาส่วนดีในวันนี้ไปพัฒนาให้ได้มากที่สุด”

นอกจากนี้อาจารย์นัยนา อินทรพฤกษา จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 8 ยังกล่าวไว้กับทางเราว่า “ได้ความรู้มากมาย สามารถนำไปใช้ในองค์กรได้ด้วย ดีมากเลยที่มาที่นี่ พอดีที่โรงเรียนจะมีแนวทางแบบนี้ก็จะได้นำไปพัฒนาได้อีกขั้นหนึ่ง เรื่องหน้าที่พลเมืองสามารถนำไปสอนใช้ได้เลยเนื่องจากโรงเรียนอยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ ในโรงเรียนก็มีการสอนเกี่ยวกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการทำตามแนวพระราชดำหริ ส่งเสริมแนวความคิดของพระองค์ด้วย”

สำหรับกิจกรรม CSR เชิงระบบ ท่านแรกอยากให้มีการบูรณาการเรื่อง CSR ในองค์กร มีการศึกษาและอบรมสมาชิก ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ติดตามดูผลและรับผิดชอบ องค์กรจะพัฒนา ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นภายใน ท่านที่สองเน้นในเรื่องความเข้าใจ CSR ขององค์กร จักอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แบ่งกลุ่มงานการปฏิบัติ ให้ข้อมูลที่ชัดเจน ปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น จัดกิจกรรมต่างๆ ไปได้ด้วยดีและมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ท่านที่สามได้เลือกในข้อความสัมพันธ์ของคุณลักษณะองค์กรกับเรื่อง CSR มีการออกแบบหลักสูตรให้กับวัยรุ่น ให้มีความตอบสนองต่อชุมชน ฝึกให้นักศึกษาได้วิเคราะห์เพื่อหาปัญหาของชุมชนและวิธีแก้ไข นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาก็จะอยู่ร่วมกับชุมชนได้ดี

กิจกรม Creative CSR ในวันนี้ของชาวนครฯ เราได้โครงการที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ “โครงการเปลี่ยนมุมมืดให้สว่าง สร้างพลังให้วัยรุ่นนครฯ (Indy in Khon)” เนื่องจากห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งศูนย์รวมของเด็กวัยรุ่น วัยรุ่นเองก็ยังมีพื้นที่ในการแสดงกิจกรรมน้อย และห้างก็มีพื้นที่ว่างมาก ดังนั้นจึงอยากได้ความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน โดยทำให้แหล่งรวมตัวกลายเป็นแหล่งกิจกรรมไป เช่น เล่นคนตรี เต้น หรือโชว์ความสามารถต่างๆ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้มีการแข่งขัน วัยรุ่นจะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้างมีรายได้มากขึ้น ลดปัญหาความรุนแรงและอาชญากรรม เยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ต่อมา คือ “โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน” มีการประชุมแผนงานเรื่อง แยกขยะ ใช้จุลินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ จัดตั้งกลุ่มที่แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ (จำนวนครัวเรือน) จัดหาที่แยกขยะ ทำปุ๋ยหมัก ขายให้อุตสาหกรรม ที่เหลือก็บำบัดให้ถูกวิธี (การเผาไร้ควัน) จะได้เป็นชุมชนต้นแบบและเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนอื่น สามารถพึ่งตนเองได้ มีรายได้ ช่วยชุมชนกันเองเงินจะได้หมุนเวียน อนุรักษ์ธรรมชาติในชุมชนแบบยั่งยืน

อีกโครงการ คือ “โครงการเยาวชนคนดี ศรีเมืองคอน” (ปัญหายาเสพติด) พบว่าปัญหานี้เป็นกิจกรรมความเคยชิน หรือสังคมเคยชิน เนื่องจากผู้ใหญ่ หรือเพื่อนในกลุ่ม มีการเสพยาเสพติด ทำให้ถ่ายทอดหรือเป็นต้นแบบให้กับคนใกล้เคียง ควรจัดลานกิจกรรมให้กับเด็ก ทำให้มีการพัฒนาศักยภาพและความคิดในหมู่วัยรุ่น จัดอบรมในหัวข้อสังคมจริงจังให้ความรู้ถึงโทษของสิ่งเสพติดให้ตระหนัก ลดปัญหาเยาวชน ลดสิ่งเสพติดในชุมชน ลดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง

ก่อนจบกิจกรรมในวันนี้ผศ.ดร. สุภาพร สุทิน จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครฯ ได้กล่าวกับผมว่า “เพิ่งจะได้รับความรู้เกี่ยวกับ CSR ก็เพราะมาอบรมครั้งนี้ เห็นข้อมูลก็เลยสนใจ คิดว่าดีที่มาจัดกิจกรรมให้ เพราะมีหน่วยงานจากต่างสถานที่มารวมกัน หน่วยงานรัฐก็มา ผู้นำชุมชน นักศึกษา ก็จะได้นำความรู้ไปใช้ หน้าที่พลเมืองเราจะนำไปให้นักศึกษาในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ไปปลูกฝังในตัวเด็กเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต”

นอกจากนี้อาจารย์วิเชียร ทองสิน จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครฯ ยังได้กล่าวอีกว่า “ได้มีความรู้ความเข้าใจกับคำว่า CSR มากขึ้น เพราะเป็นกระแสใหม่ มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและเผยแพร่ต่อไป ดีที่มาจัดให้ชาวนครฯ ในสังคมเมืองจะได้รู้เรื่องนี้และตื่นตัว แต่ต่างจังหวัดไม่ค่อยรู้ วันนี้ก็ได้เห็นทุกกลุ่มมา ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน นักศึกษา ในเรื่องหน้าที่พลเมืองผมคิดว่ามันเป็นสามัญสำนึกด้วยซ้ำ เพียงแต่ใครจะสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้กับชีวิตและหน่วยงานได้มากกว่ากัน”

วันนี้ผมรู้สึกว่า เป็นการคุมอารมณ์และความสนใจของผู้เข้าร่วมได้ยากทีเดียว เพราะหลายๆ ท่าน อยู่ในระดับและตำแหน่งค่อนข้างสูง จึงอาจจะมีความเป็นตัวของตัวเอง หรือจะเรียกว่าภาวะผู้นำสูงก็ได้ อาจจะดูว่าผมยังเด็กที่มาคุมให้ทำกิจกรรมนู่นนี่ แต่หลายๆ ท่านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีมาคุยกับผมบ้างว่าถ้าทุกคนในประเทศรับผิดชอบในหน้าที่ของตนได้ก่อน แค่นี้ก็พอแล้ว จะน่าอยู่มากๆ เลย คนเรามีแต่จะให้คนอื่นทำ แต่ตัวไม่ทำเอง แล้วสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นได้หรอ

เรามุ่งหน้าขึ้นเหนือ เพื่อที่จะไปจัดอบรมให้อีกหนึ่งจังหวัดก่อนที่จะถึงงานระดับภาคใต้ การเดินทางจะว่าไปแล้วใช้เวลานานสุดๆ ครับ อย่างน้อยก็มากกว่า 4 ชั่วโมง ผมต้องนั่งจนเปื่อยแน่ ตอนนี้ทีมงานเราดูมีพลังมาก และยังตื่นตัวกันอยู่ อาจเป็นเพราะถ้าหมดระดับภาคใต้ ก็จะครบทั่วประเทศ และจะได้ไม่ต้องเดินทางไกลๆ อีก เลยทำให้ดูฟิตและตั้งใจกว่าปกติ แต่ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าวันพรุ่งนี้ที่เราจะไปจัดให้นั้นจะลำบากหรือสนุกสนานเพียงใด อย่างไรก็ตามขอให้ทุกคนติดตามการเดินทางของผมและพี่หนึ่งจบครบทุกจังหวัดด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ขอทิ้งท้ายว่า “จงอย่าหวังอะไรจากคนที่เรารัก แต่ควรจะทำอะไรเพื่อคนที่รักเราดีกว่านะครับ” ผมมาอารมณ์ไหนเนี่ยะ ฮ่าๆ สวัสดีครับ

พังงา


ตอนนี้เราก็มุ่งไปสู่จังหวัดพังงาซึ่งเราใช้เวลาเดินทางประมาณชั่วโมงกว่า ๆ โดยเราเดินทางไปเรื่อย ๆ ด้วยการหลับผสมตื่นและตอนนี้พวกเราก็เริ่มหลงแล้วครับ เพราะไม่รู้โรงแรมพังงาเบย์รีสอร์ทอยู่ตรงไหนเราจึงแวะตาม Seven Eleven ใกล้เคียงเพื่อสอบถามและเหมาสินค้าอย่างที่เคยทำอย่างปกติ เราจึงทราบแล้วครับว่ารถตู้เราเลยมาไกลพอสมควรเราจึงวกรถกลับไปเพื่อไปสู่โรงแรมอีกครั้ง จนมาตอนนี้เรามาถึงโรงแรมแล้วครับสภาพทั่วไปของโรงแรมก็อาจจะโทรมนิดนึงแต่บริเวณรอบโรงแรมต้องยอมรับว่าอุดมไปด้วยธรรมชาติอย่างแท้จริงครับด้านหน้าติดภูเขา ด้านหลังติดทะเลอีกด้วยเมื่อผม Check In เข้าห้องเรียบร้อยก็นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ Star Soccer เพื่อเช็คข่าวสารทางฟุตบอล ส่วนพี่บอยก็นั่งเล่นเกมส์ 3 ก๊กอย่างสนุกสนาน

จากการเช็คข่าวของผมทำให้รู้ว่า Liverpool ได้แพ้เป็นครั้งที่ 4 แล้วครับจาก 9 นัด โดยผู้จัดการทีมของลิเวอร์พูลชื่อราฟา เบนิเตซ ในที่นี้ขอเรียกว่าราฟาสั้น ๆ แล้วกัน โดยปกติแล้วเมื่อลิเวอร์พูลแพ้ทีไรเฮียราฟาจะออกมาโทษนู้นโทษนี่ทุกที (ไม่เคยด่าตัวเองสักที) จนมาถึงการพ่ายแพ้ครั้งนี้ต้องบอกว่าแพ้ลูกเดียวด้วยและแพ้เพราะลูกบอลดันแฉลบลูกโป่งในสนาม (มาได้ยังไงก็ไม่รู้) ส่วนตัวกระผมคิดแน่นอนว่าราฟาต้องออกมาฟาดงวงฟาดงาอย่างแน่โดยอาจต้องโทษเจ้าลูกโป่งเจ้ากรรม หรือกรรมการก็เป็นได้ (เพราะปกติถ้ามีวัตถุประหลาดเข้ามาในสนามก็จะมีการเป่าหยุดเกมส์ทันที) แต่มาครั้งนี้ต้องบอกว่าประหลาดครับเพราะราฟาดันโทษทีมตัวเองซะงั้น (ถือว่าเป็นการทำ CSR ครั้งแรกของราฟาเลยนะเนี่ย) โดยอาจเป็นเพราะราฟาเชื่อว่าถ้าลูกทีมของเขาดีจริงก็ต้องยิงตีเสมอ หรืออาจยิงจนแต้มนำและเป็นผู้ชนะไปแล้ว (ลูกที่แฉลบเข้าประตูในนาทีที่ 5 เท่านั้น) กระผมก็เลยขอดีใจกับแฟนลิเวอร์พูลด้วยที่ผู้จัดการของเค้าเริ่มมี CSR เข้ามาในการทำงานแล้ว

หลังอ่านหนังสือพิมพ์เสร็จกระผมก็ไปอาบน้ำแปรงฟันจนเรียบร้อยก็มารีบนอนเพื่อเตรียมพร้อมงาน CSR Campus จังหวัดพังงาพรุ่งนี้ พอมาถึงเวลา 6.15 น. กระผมก็ตื่นแล้วครับพร้อมกับไปอาบน้ำทำธุระส่วนตัวทันทีหลังเสร็จเรียบร้อยก็มานั่งเช็คข่าวสารทันทีซึ่งข่าวพนักงานรถไฟประท้วงหยุดงานก็ยังคุกรุ่นอยู่เหมือนเดิม และนี่ก็คือโทษของการไม่มี CSR ภายในองค์กรหรือ CSR Work In Process เพราะถ้าภายในมีการทำ CSR ที่ดีพนักงานรถไฟย่อมไม่มีแสดงการหยุดงานอย่างนี้แน่นอนซึ่งผลกระทบส่งให้ภาพพจน์ของการรถไฟลดไปอย่างแน่นอน เพราะมีการปล่อยผู้โดยสารกลางทางอีกด้วย (กระทบกับลูกค้าอีกต่างหาก) เฮ้อ คงต้องรอดูกันต่อไปว่าผู้ว่าการรถไฟไทยจะจัดการกับปัญหายังไงต่อไป แต่ถ้าถามกระผม กระผมก็จะแนะนำว่าควรเริ่มทำ CSR ภายในองค์กรด่วนครับ (เจ้านาย)

ตอนนี้ผมก็นั่งทานอาหารเช้าริมทะเล โดยอาหารวันนี้ก็ธรรมดามาก (ถ้าเทียบกับโรงแรมอื่น ๆ) แต่ส่วนตัวกระผมกลับถูกใจในความธรรมดาของอาหารวันนี้นะครับโดยอาหารวันนี้มีข้าวผัด ไข่ดาว ไส้กรอก และเกี๊ยวน้ำอีกด้วย (บางท่านอาจจะน้ำลายไหลกระผมอนุญาตให้หยิบผ้ามาเช็ดน้ำลายได้เลยนะครับ) หลังจากทานอาหารเสร็จกระผมกับทีมงานก็รีบมาเตรียมของเพื่อจัดงาน CSR Campus จังหวัดพังงาทันทีครับโดยในระหว่างที่จัดงานเสร็จวันนี้กระผมก็ได้ฤกษ์ Upload Blog ที่ค้างคาไว้ทันที หลังจาก Upload ได้เรียบร้อยความสุขมาทันทีเลยครับ เพราะงานที่ค้างคาอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้วซึ่งนี่คงเป็นความรู้สึกเช่นเดียวกับการได้รับบุญกระมัง

มาในกิจกรรมแรกก็คือหน้าที่พลเมืองซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับชาวพังงาดังนี้ อาทิ การเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนในศาสนาอย่างเคร่งครัดด้วยการเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม ร่วมกันทำความสะอาดบริเวณรอบวัด ส่วนอีกท่านได้เลือกเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพของตนเองโดยชอบธรรม ด้วยการยึดถือความถูกต้องของแหล่งรายได้ที่หามาโดยสุจริตส่วนในเรื่องพลเมืองบรรษัทอยากให้ธุรกิจในจังหวัดพังงาเคารพ ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบของท้องถิ่นอย่างเคร่งครัดโดยที่ไม่เอาเปรียบต่อธุรกิจที่เล็กกว่า และหากปฏิบัติตามกฎระเบียบจะทำให้องค์กรเป็นที่น่าเชื่อถืออีกด้วย ส่วนอีกท่านเลือกการส่งเสริมให้พนักงานมีศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเพราะจะทำให้บุคลากรมีมาตรฐานทางจิตใจที่ดีงาม และสามารถแยกสิ่งผิดและสิ่งถูกได้ด้วยตนเอง ทำให้การทำงานภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีความสุข

พอถึงช่วงพักเที่ยงผมก็ได้มีโอกาสคุยกับพี่ท่านหนึ่งซึ่งกระผมลองถามว่าสภาพทั่วไปของจังหวัดพังงาเป็นอย่างไรบ้าง คุณพี่ท่านนี้กล่าวว่าจังหวัดพังงาถ้าในตัวอำเภอเมืองจะเงียบเหงามากไม่ค่อยมีอะไรเป็นเมืองที่เน้นธรรมชาติขนาดมหาวิทยาลัยที่นี่ยังไม่มีเลยมีชั้นสูงสุดก็แค่ระดับ ปวส.และห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมืองก็ไม่มีอีกด้วย โดยในส่วนอื่นที่เจริญจะเป็นแถวเขาหลักและตะกั่วป่าอีกด้วยซึ่งถ้าเปรียบเทียบผมว่าคล้ายกับจังหวัดภูเก็ตเลยครับ (อำเภอเมือง VS อำเภอป่าตอง) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมของจังหวัดพังงาก็คือ เกาะต่าง ๆ โดยล่าสุดมีเกาะที่ได้รับความสนในใจจากนักท่องเที่ยว คือ เกาะพุงช้างโดยนักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือยาวลอดเข้าไปได้เช่นกัน แหม ถ้าไม่รีบเดินทางก็อยากไปเที่ยวสักครั้งนะเนี่ย

มาในช่วงกิจกรรม CSR เชิงระบบซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ อาทิ การสื่อสารในเรื่อง CSR เพื่อให้นักศึกษารู้ว่า CSR มีความเป็นมายังไง ด้วยการจัดการสื่อสารหรือนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่อง CSR เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจความหมายของ CSR อีกด้วยหัวข้อที่น่าสนใจอีกข้อคือ การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับ CSR ด้วยการนำกิจกรรม CSR ที่ทางองค์กรปฏิบัติอยู่แล้วแต่มิได้ให้ความสำคัญในกิจกรรม และยังขาดความต่อเนื่องมาทบทวนปรับปรุงให้เกิดความจริงจังในการปฏิบัติรวมถึงการทำอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ส่วนกิจกรรมสุดท้าย คือ Creative CSR ซึ่งมีโครงการที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดพังงาดังนี้ ได้แก่ “โครงการสร้างบ้านให้ปลา ชาวพังงารักษ์ท้องทะเล” โดยจะเป็นโครงการสร้างปะการังเทียมให้ชาวประมงท้องถิ่นดูแลและสร้างจิตสำนึกในการรักษาท้องทะเลให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเริ่มจากการสำรวจพื้นที่เป้าหมายบริเวณที่เคยมีปะการังมาก่อนและทางโครงการจะจัดหาวัสดุ Recycle ในการสร้างปะการังเพื่อเป็นบ้านให้ปลา เช่น ท่อปูนที่ไม่ใช่แล้ว เป็นต้น ซึ่งจะมีการติดตามผลทุก ๆ 3 เดือนอีกด้วย

โครงการต่อมา คือ “โครงการพังงาเมืองสวยรวยธรรมชาติ” โดยโครงการจะร่วมดูแลอยู่ 2 เรื่องคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งด้านสังคมจะมีการจัดกลุ่มอาสาสมัครเยาวชนรักพังงาเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์อาสา รวมถึงการดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมจะมีการรณรงค์ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องความสะอาดชายฝั่งทะเล และการจัดเก็บขยะรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ อีกด้วย

และในวันนี้งาน CSR Campus จังหวัดพังงาก็จบไปด้วยดีครับหลังจากเราเก็บของเรียบร้อย ท้องทีมงานตอนนี้ก็สั่นกระเพื่อมๆแล้วครับ (สั่นหิว) จึงเริ่มนั่งรถตู้ตระเวนหาร้านอาหารเป้าหมายโดยไม่รีรอ ทางทีมงานจึงให้กระผมเป็นหน่วยกล้าตายลงไปก่อนเพื่อถามร้านอาหารอร่อยในวันนี้ซึ่งก็ได้มาเรียบร้อย คือ ร้านนางหงส์ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณสัก 15 นาทีตอนนี้เราก็มาถึงร้านนางหงส์แล้วครับ กระผมก็เป็นหน่วยกล้าตายเหมือนเดิมเพราะไม่แน่ใจว่าคือร้านนางหงส์แน่ชัดหรือเปล่าจึงเดินเข้าไปถามพนักงานว่าที่นี่ร้านนางหงส์หรือเปล่า พนักงานก็ไม่พูดอะไรแต่ก็เดินย้อนกลับไปปรึกษากับเพื่อนพนักงานประมาณว่า เออ... ที่ที่เราทำงานกันนี่ชื่อร้านนางหงส์หรือเปล่า แต่การเดินย้อนกลับของพนักงานคนนั้นก็กลับทำให้ผมรู้ว่าที่นี่แหละครับร้านนางหงส์จากตัวหนังสือหลังเสื้อยืดของพนักงานผู้นั้นนั่นเอง (น้องครับทีหลังเรียกเพื่อนมาอ่านหนังสือตรงหลังเสื้อที่น้องใส่ให้พี่ฟังก็ได้) หลังทานอาหารสักพักตอนนี้เราก็เตรียมมุ่งหน้าสู่จังหวัดต่อไป แล้วติดตามการเดินทางของพวกเรากันต่อนะครับ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กระบี่

เรามาถึงจังหวัดที่เป็น 1 ในหลายๆ จังหวัด ที่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากความงดงามของธรรมชาติ จังหวัดกระบี่ครับ! เรามาถึงที่หมายปุ๊บก็แยกย้ายกันเข้าห้องทันที เพื่อเติมไฟในการออกสำรวจพื้นที่ในวันถัดไป โดยที่ทุกคนๆ จากทั้ง 2 ทีมก็ยังไม่ได้เห็นหน้าเห็นตากันเพราะต่างก็มาถึงกันดึกพอสมควร

รุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์ที่ 17 ต.ค. 52 เวลาที่ล้อหมุนคือประมาณ 10.00 น. เรามุ่งหน้าสู่ สระมรกต เป็นที่แรก ทุกๆ คนต้องเดินทางไปยังต้นกำเนิดของสระให้ได้ เพราะต้องการจะดูว่ามันงดงามแค่ไหน เราเดินทางขึ้นเขากันมา ระยะทางไม่ไกลมากนัก แต่สภาพอากาศที่ร้อนและกระเป๋าสะพายที่เตรียมมาเพื่อจะเล่นน้ำทำให้มันหนักและเหนื่อย และรู้สึกว่าจุดหมายไกลมาก หลายคนก็ดูอิดโรย แต่พอมาถึงก็ประทับใจกับน้ำสีฟ้าสะท้อนแสง เหมือนสระศักดิ์สิทธิ์เลย มันแปลกมากที่มาอยู่ตรงนี้ แต่แล้วเราก็ไม่ได้เล่นน้ำ มุ่งหน้าสู่ที่หมายต่อไปทันทีที่น้ำตกร้อน ไม่ต้องไปถึงญี่ปุ่นเราก็มีน้ำร้อนแช่ มาถึงคนเยอะมากๆ ไม่รู้จะลงไปเล่นตรงไหนได้ จึงได้แค่เอาเท้าสัมผัสกับน้ำว่าร้อนแค่ไหน อืม...ผมว่ามันร้อนใช้ได้ทีเดียว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่ากี่องศา ถ้ากระโดดลงไปได้ร้องลั่นแน่ครับ ต้องตัดใจกับการที่จะเล่นน้ำอีกแล้ว เพราะนักท่องเที่ยวเยอะเหลือเกิน เราจึงไปเดินที่...ไม่เคยมีที่จังหวัดอื่นเลยจึงต้องมาจากกรุงเทพฯ ถึงกระบี่ Outlet (-_-‘) ลงไปเดินก็เป็นเรื่องซิครับ จ่ายกันแหลก เหอๆ กระเป๋าโล่งกันเป็นแถว ไม่ได้ถูกเลยแต่ละอย่าง ทีมอาจารย์ฌานสิทธิ์ต้องขอแยกตัวไปก่อนเพราะมีหน้าที่จะต้องไปจัดสัมมนาที่ภูเก็ตในวันจันทร์ ส่วนทีมเราจัดที่กระบี่เลยออกจะสบายหน่อย ทำให้พี่ผึ้งของเราเหงาเล็กน้อยเพราะเพื่อนสนิทของเธอ (พี่สาว) ก็อยู่ในทีมของอาจารย์ฌานสิทธิ์ด้วย
วันอาทิตย์ที่ 18 ต.ค. 52 วันนี้เราเดินทางกัน 4 คน คือ อาจารย์พงศ์ พี่เดียว (ภรรยาอาจารย์) น้องโอ๋และผม ได้ออกทะเลสำรวจเกาะกัน ส่วนพี่ผึ้งกับพี่แอนนั้นอยากที่จะพักผ่อนมากกว่า หรืออาจเป็นเพราะสังขารที่ไม่ไหว ฮ่าๆ เกาะห้องเป็นที่แรกที่เราลงดำน้ำสำรวจกัน เช้านี้ฟ้าไม่โปร่งทำให้การมองใต้ทะเลเป็นไปได้ยาก แต่ประทับใจที่ได้เห็นปลาชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 3 ฟุต กว่าๆ เห็นจะได้ ปากแหลมและตัวสีเขียวปนฟ้า ว่ายอยู่ใกล้ๆ ฝั่ง ผมพยายามเข้าใกล้แต่มันก็ว่ายหนี แต่มันก็ไม่ได้กลัวคนนักเพราะก็ว่ายวนอยู่บริเวณนั้นตลอด เกาะพาราไดซ์ก็มีปลาเยอะ และแปลกใจที่เห็นเด็กถือกล้วยให้ปลาเสือกินอยู่ แตงโม สับปะรด ก็มี งงเลย อะไรปลากินผลไม้พวกนี้ด้วย แต่ที่ประทับใจที่สุดของวันนี้คือบริเวณใกล้ๆ เกาะไก่ครับ เรือจอดปุ๊บ ปลาเสือจำนวนมากมารอกันเต็มข้างเรือ ผมไม่ได้สนใจว่ามารอทำไม กระโดดลงไป พี่คนเรือก็บอกว่ามันมารออาหารเพราะนักท่องเที่ยวชอบเอาขนมปังให้กิน ผมจึงได้ทีเอาบ้าง ถือขนมปังลูกเกดมันก็มาตอดกินกันเต็มเลย ไม่พอตอดแขนตอดตัวอีก ก็รู้สึกว่าจักกะจี้แต่ได้ความเป็นธรรมชาติดี ไม่ต่างกับปลาสวายแถวบ้านเราเลยแค่มันตัวเล็กและสีสวยกว่า ฮ่าๆๆ มาถึงทะเลแหวกที่อยู่ไม่ไกลกัน เคยเห็นแต่ในรูป ทำไมถึงชื่อนี้เพราะมันเป็นทางเชื่อมเดินข้ามไปอีกเกาะได้เวลาน้ำลดเท่านั้น ของจริงสวยกว่าในรูปเยอะเลย เสียดายที่คนเยอะไปหน่อย แต่ก็ไม่พลาดที่จะเก็บภาพมาให้ผู้อ่านได้ชมกันครับ เรากลับโรงแรมไปรับสองสาวมาทานข้าว อาจารย์ได้ชี้นกพันธุ์ต่างๆให้ผมดู ตาท่านดีจริงๆ ไกลๆ ยังจะเห็น ผมก็ได้เห็นนกแปลกๆ ที่ไม่ต้องไปดูถึงสวนสัตว์ด้วย เราเข้าพักผ่อนตามอัธยาศัยในเวลาต่อมา ผมจึงมีเวลาสำรวจตัวเองอีกทีว่าดำขึ้นเยอะเลย เหอๆ ไม่เป็นไรครับดูแมนดี
เช้าต่อมาฟังข่าวรู้สึกว่าจะมีสัตว์สัญลักษณ์ประเทศเราล้มตายอีกแล้ว ช้างโดนยิงที่ลำตัวและปาก มีการเข้าช่วยเหลือแต่มันก็ทนพิษบาดแผลไม่ไหว ทำให้ล้มลง จะว่าไปช้างก็เป็นสัตว์ที่มีมานานมากแต่ไม่รู้อนาคตจะยังคงเหลือให้เห็นรึไม่ อีกข่าวจะเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ได้เห็นโมเดลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถที่แปลงพลังไฮโดเจนมาเปลี่ยนเป็นพลังงานใช้กับรถยนต์ โมเดลโครงกระดูกที่เรียกกันว่า Mr.Sam ที่จำเป็นต่อเด็กที่ต้องการเรียนหมอ ดูแล้วก็อยากจะย้อนเวลากลับไปเรียนใหม่ครับ ตอนเด็กๆ ไม่น่าขี้เกลียดเลย ฮ่าๆๆ ชาวกระบี่ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เข้าใจถึงการอบรมเพราะว่ามาก่อนก็นั่งหน้ากัน ไม่ไปนั่งข้างหลัง คนใต้คงจะเป็นแบบนี้จริงๆ แสดงถึงการที่อยากจะมารับความรู้อย่างชัดเจน
หน้าที่พลเมืองวันนี้มีในเรื่องของการเป็นผู้พากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพโดยชอบธรรมและมีความสัตย์ ปฏิบัติในสิ่งที่ตนถนัดที่สุด รับผิดชอบหน้าที่ตนเอง ทำงานตรงเวลา นอกเหนือคำสั่งถ้ามีอะไรช่วยได้ก็ช่วย พูดอะไรไปแล้วต้องทำให้ได้อย่างที่พูด ถ้าเจอของมีค่าตกอยู่ก็ควรจะเก็บไปคืนเจ้าของ เพราะสิ่งของอาจจะมีค่ามากสำหรับคนที่ทำหล่นไว้ ในความเป็นพลเมืองบรรษัทก็อยากให้องค์เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องโปร่งใส องค์กรควรใช้ศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแก่พนักงาน และไม่ดำเนินกิจการที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อส่วนรวม ใช้งบประมาณอย่างถูกต้อง อยากให้มีวิทยากรมาให้ความรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม ไม่สร้างความเสียหายแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม
วันนี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์กวิสรา วิทยานิพนธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือ ท่านกล่าวกับผมว่า “ได้ความรู้เรื่อง CSR เคยได้ยินมาแต่ไม่เข้าใจชัดเจน ก็ได้รู้ละเอียดมากขึ้น คิดว่าคนที่มาวันนี้น้อยไปหน่อย ควรจะปลูกฝังที่เยาวชน น่าจะนำครูมามากกว่านี้ ควรจะให้ครูทุกคนเข้าอบรมจะได้นำไปพูดในเรื่องเดียวกัน ถ้าการที่ผู้บริหารมาเองก็ไม่ลงถึงครูผู้ปฏิบัติ แต่ถ้าครูมาเป็นตัวแทนและผู้บริหารไม่อนุมัติก็ทำอะไรไม่ได้อีก คิดว่าต้องร่วมมือกันดีกว่าค่ะ”

ในกิจกรรม CSR เชิงระบบ ชาวกระบี่อยากให้เพิ่มความเข้าใจในเรื่อง CSR จัดอบรมพนักงานให้เข้าใจ ทำ Workshop และกิจกรรมต่างๆ สร้างองค์กรให้แข็งแกร่งให้เป็นที่รักของคนทั่วไป มีการจะสร้างธนาคารอิสลาม เพื่อช่วยสังคม สร้างกำไรให้กับองค์กรมากที่สุด โดยมีบุคลากรเฉพาะที่จะเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล อยากให้ผู้บริหารได้รับความรู้ในเรื่อง CSR ด้วย เนื่องจากระบบในปัจจุบัน CSR ในหน่วยงาน ยังไม่เข้าระบบมากนัก จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา ยิ่งๆ ขึ้นไป อยากให้มีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม ถ้าทำได้พนักงานทุกคน ก็จะมีความภักดีต่อองค์กร

นอกจากนี้อาจารย์พิน นิลบวร รองผู้อำนวยการ จากวิทยาลัยการอาชีพคลองท่อม ยังได้กล่าวอีกว่า “ได้รับความรู้พอสมควร เป็นเหมือนการคิดเชิงระบบ ต้องคิดถึงผลกระทบและคนรอบข้าง คิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดี ควรนำไปขยายผล น่าจะให้ผู้มีอำนาจมาฟัง ถ้าคนไม่มีอำนาจมาฟังบางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้ สมัยก่อนได้เรียนเรื่องหน้าที่พลเมือง สมัยนี้ก็มีสอนแค่ผ่านๆ จริงๆ ควรจะสร้างจิตสำนึก จะอยู่ได้นานชั่วชีวิต แต่ถ้าสอนแล้วสอบก็ผ่านไป ดูจะไม่มีประโยชน์เท่าไร”

สำหรับกิจกรรม Creative CSR ในวันนี้มีโครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ “โครงการเรารักษ์ กระบี่” โดยสร้างจิตสำนึก ในเรื่อง เมืองกระบี่ปลอดขยะ สะอาด และชายหาดสวยงาม มีการรณรงค์ ปลูกฝังแนวคิด โดยใช้สถานประกอบการจัดทำโครงการให้สอดคล้องกัน และมีหน่วยงานคอยติดตาม ประเมินผล มีการประชาสัมพันธ์ เลือกใช้บริการจากประชาชน กำหนดมาตรการทางสังคม กำหนดพื้นที่ zoning ปลอดขยะนำร่อง เพื่อบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ชุมชนจะสะอาดสวยงาม นักท่องเที่ยวก็จะมามากขึ้น รายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น
โครงการต่อมา คือ “โครงการ One Day Trip in Krabi” เป็นแนวท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อชาวกระบี่ แทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ให้นักท่องเที่ยวปั่นจักรยานไปวัดถ้ำเสือ และปั่นต่อไปยังน้ำตกห้วยโต การปั่นจักรยานจะมีการเก็บพลังงานเข้ามอเตอร์ที่ติดกับตัวรถจักรยาน สามารถนำมอเตอร์ไปใช้ที่ครัวเรือนได้ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย สุขภาพของคนที่มาเที่ยวใช้จักรยานจะแข็งแรงและมีไฟให้กับคนในชุมชนใช้ มีการบอกต่อๆ ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดดีขึ้น

อีกโครงการ คือ “โครงการพัฒนา สิ่งเหลือใช้จากการผลิตยางแผ่นรมควัน” นำสิ่งเหลือใช้ เช่นขี้เถ้าที่ได้จากการลมควันยางแผ่น และไม้ไผ่ที่แตกหักจากการพาดยาง นำขี้เถ้ามาผสมปูนซีเมนต์เพื่อทำอิฐบล็อก ไม้ไผ่ที่แตก ไม่สามารถนำไปพาดยางได้ จึงนำไปให้ชาวบ้าน เอาไปทำเป็นแนวยางพาราทำค้างผักไม้เลื้อย มีแนวคิดที่จะเอาไปทำเป็นเครื่องจักรสาน ทำเป็นของที่ระลึกต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากกว่าเดิมและเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีงานทำ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
ก่อนจบกิจกรรมทั้งหมดในวันนี้อาจารย์กัญญารัตน์ จันทร์ศรีนาค จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ได้กล่าวเกี่ยวกับกิจกรรมวันนี้ว่า “ตอนแรกคิดว่าเรื่องนี้เรารู้อยู่แล้ว แต่ว่าไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร การช่วยสังคมทางวิทยาลัยก็ได้ทำมาตลอด มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราแค่ไม่มีความรู้เรื่อง CSR เท่านั้นเอง ดีค่ะที่มาจัดกิจกรรมให้ เราจะได้ไปถ่ายทอดต่อสังคม ยังมีการเอารัดเอาเปรียบกันอยู่ ถ้าได้ความรู้ไปจะได้คิดก่อนทำค่ะ นำหน้าที่พลเมืองไปใช้สอนได้ค่ะ เหมือนกับการช่วยเหลือ อยากให้เข้าไปอบรมถึงวิทยาลัยเลยจะดีกว่า”

อีกทั้งอาจารย์พิมพ์ประไพ หวานชื่น จากโรงเรียนทุ่งพะยอม ได้สนทนากับเราว่า “ลูกสาวได้ข่าวสารที่ภูเก็ตว่าที่กระบี่ มีจัดอบรม ก็โทรมาบอกให้เข้าอบรมที่กระบี่ ได้ความรู้ใหม่ๆ ปกติการเป็นครูจะได้ความรู้อยู่เรื่อยๆ และเรื่องนี้ก็ใหม่ขึ้นมาอีก ก็เต็มใจที่จะมา ดีที่มาจัดให้ที่กระบี่ มันเป็นความรู้ใหม่ ข่าวสารข้อมูลก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ เผยแพร่ในหน่วยงานการศึกษาได้ นำเรื่องหน้าที่พลเมืองไปสอนได้เลย เรื่อง CSR ก็เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่มเข้ามาอีก สร้างนวัตกรรมขึ้นมาเรื่อย สิ่งที่มีอยู่แล้วอาจจะล้าสมัย ก็เอาไปปรับสอนเด็ก หรือไปพัฒนาบุคลากรก็ได้”

การอบรมวันนี้มีผู้ให้ความสนใจในการไปร่วมงาน CSR Campus ระดับภาคใต้เป็นจำนวนมาก บางท่านถึงกับเขียนใบจองไว้ก่อนเลย เยี่ยมจริงๆ ครับ ทำให้การเดินทางไปยังจังหวัดต่อไปล้าช้าไปถึง 2 ชั่วโมงด้วยกัน แต่ก็ไม่เป็นไรครับ แขกผู้มีเกียรติถือเป็นบุคคลสำคัญเสมอ มีการขอเสื้อของเราเพื่อที่จะใส่ไปในงานวันนั้นด้วย แต่ทางเราแจกไปหมดแล้ววันนี้

อาหารเย็นของผมวันนี้คือมาม่าใส่หอยกระป๋องครับ จากภัตตาคาร SEVEN ELEVEN ฮ่าๆ เยี่ยมอย่าบอกใครครับเพราะเราทานอาหารในร้านต่างๆ มามากพอแล้ว ทานอะไรง่ายๆ ก็รู้สึกดีเหมือนกันถึงจะไม่มีสารอาหารแต่ถูกและอิ่ม หวังว่าทุกท่านที่ติดตามการอ่านของผมและสนุกไปพร้อมๆ กับการเดินทางของเราทั้งสองทีม ก็เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับผม!

ภูเก็ต

หลังจากเราเดินทางออกจากจังหวัดสงขลาแล้วเราก็มุ่งหน้าสู่จังหวัดภูเก็ตทันทีเพราะเรามีงาน CSR Campus ในจังหวัดภูเก็ตต่อเนื่อง ในวันจันทร์ครับเราจึงใช้เวลาในช่วงเสาร์อาทิตย์ในการศึกษาข้อมูลในจังหวัดภูเก็ตพอสมควร (แถวบ้านเรียกเที่ยวครับ) โดยเราได้ไปเที่ยวสระมรกตที่จังหวัดกระบี่กับทีมงานคุณแม๊กซ์ด้วย แหม สนุกสนานมากครับ (เหนื่อยหอบมากมาย) โดยเราได้เดินทางโดยใช้เท้าของเราภาษาอังกฤษบอกว่า By Foot ประมาณ 3 กิโลกว่า ๆ (รวมระยะทางไปกลับ) แต่ธรรมชาติที่เราเห็นก็ถือว่าคุ้มค่าครับ กระผมก็มีโอกาสได้เห็นประวัติของบ่อมรกตด้วยครับ สมัยก่อนชาวบ้านเชื่อว่ามีกินรีมาว่ายเล่นกันในบ่อนี้อีกด้วย แต่เท่าที่ผมมองดูไม่มีกินรีสักตัวเลยครับเห็นแต่นางสาว(สัญชาติ)ไทยเท่านั้นเองดังรูปนะครับ

หลังจากที่เราสนุกสนานกับการเที่ยวกระบี่พอสมควรและชักภาพร่วมกันจนหนำแล้ว เราก็ทำการแยกทางกับทีมคุณแม๊กซ์เพื่อไปสู่จังหวัดภูเก็ตเป็นเป้าหมายต่อไปโดยในช่วงที่กระผมตะลอนอยู่จังหวัดภูเก็ตกระผมก็ไปเที่ยวอำเภอป่าตอง และอำเภอเมืองภูเก็ตอีกด้วยโดยต้องกล่าวว่าต่างกันสิ้นเชิงเพราะดูเหมือนอำเภอป่าตองคล้ายเป็นเมืองฝรั่งไปแล้ว ฝรั่งเยอะมากครับ ส่วนอำเภอเมืองก็จะเหมือนอำเภอเมืองตามต่างจังหวัดทั่วไป ซึ่งเส้นทางในการเดินทางจังหวัดภูเก็ตช่วงนี้ถือว่าติดพอสมควรครับเพราะช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลถือศีลกินเจเช่นกัน (ขออนุโมทนาบุญสำหรับผู้กินเจด้วยนะครับ)

หลังจากเราเที่ยวกันเสร็จเรียบร้อยเราก็มาพักพิงกันที่โรงแรมเพิร์ลภูเก็ตครับ ซึ่งกระผมก็นั่งดูข่าวนิดหน่อยเพื่อเสริมความรู้นิดนึงซึ่งคลื่นทีวีก็ไม่มีความชัดเจนซักเท่าไรก็จึงฟังได้บ้างไม่ได้บ้างสลับกันไป พอใกล้ 23.00 น.ผมก็เลยขอตัวนอนแล้วครับเพราะว่าก็ค่อนข้างเพลียสะสมอยู่เหมือนกัน ต้องบอกเลยครับว่าเตียงบวกผ้าห่มที่นี้เข้ากันมาก นุ่มจนผมหลับลึกไม่รู้เรื่องจนถึงเวลา 6.15 น.เลยทีเดียว ตอนตื่นมาฟ้ายังมืดมากเลยครับทีแรกก็งงว่าทำไมจังหวัดภูเก็ตพระอาทิตย์ขึ้นช้าจัง แต่พอมาเช็คกับนาฬิกาข้อมืออีกทีถึงรู้ว่าเราตื่นประมาณ 6.00 น.เช้าแหน่ะ กระผมจึงต้องซื่อสัตย์กับตนเองด้วยการนอนต่อจนถึง 6.15 น.ดังเดิม พอได้เวลาก็ตื่นทันทีเลยครับและปฏิบัติภารกิจส่วนตัวเพื่อเตรียมลงมาทานอาหารเช้าด้วย โดยปกติตอนกระผมทานอาหารเช้าคนจะไม่ค่อยเยอะเท่าไรเพราะว่าเราลงมาทานเช้ามาก แต่วันนี้มิใช่อย่างงั้นครับเพราะมีคนจีนประมาณ 100 กว่าคนลงมาทานด้วยเห็นจะได้บรรยากาศจึงแย่งกันหยิบอาหารพอสมควร หลังเสร็จศึกจากห้องอาหารแล้วกระผมก็มาเตรียมงาน CSR Campus เพื่อต้อนรับชาวจังหวัดภูเก็ตเป็นงานต่อไป

มาถึงกิจกรรมแรก คือ กิจกรรมหน้าที่พลเมืองซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดภูเก็ตดังนี้ อาทิ การเป็นผู้มีความสวามิภักดิ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประมุขแห่งชาติ เพราตั้งแต่จำความได้ก็รู้สึกว่าท่านเป็นผู้เสียสละต่อประเทศชาติบ้านเมืองอย่างมากมาย กระผมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งก็ได้น้อมนำคำสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตอีกด้วย ส่วนอีกท่านได้เสนอหน้าที่ว่าเป็นผู้เชื่อฟังยำเกรงต่อพระราชกำหนดกฎหมายของประเทศบ้านเมืองทุกเมื่อ ด้วยการปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ เช่น การปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น ส่วนเรื่องพลเมืองบรรษัทอยากให้ธุรกิจไม่ดำเนินกิจการที่สร้างความเดือดร้อน เพราะเท่าที่เห็นในปัจจุบันความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจยังขาดอยู่ ทั้งยังเอาเปรียบต่อผู้บริโภคจึงต้องการให้ธุรกิจทำหัวข้อดังกล่าว ส่วนท่านได้เลือกหัวข้อเช่นเดียวกันเพราะธุรกิจมีการส่งเสียงดังรบกวนชาวบ้าน เช่น ธุรกิจสถานบันเทิงที่ไม่มีการควบคุมเสียงให้อยู่จำกัดภายในสถานบันเทิง เป็นต้น

ส่วนช่วงพักอาหารกลางวันกระผมก็มีโอกาสร่วมโต๊ะกับชาวภูเก็ตด้วยซึ่งก็ได้คุยเรื่องทั่วไปในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ความว่าส่วนใหญ่ในจังหวัดภูเก็ตจะเป็นชาวจีนและเนื้อที่ส่วนใหญ่ก็จะมีชาวจีนเป็นเจ้าของซึ่งยังมีการล้อในโต๊ะอาหารด้วยว่า ลูกรักจะได้ที่ในบริเวณอำเภอเมือง ส่วนลูกชังได้ที่แถวป่าตอง (ได้ยินแบบนี้ถ้าผมเป็นลูกในตระกูลคงจะดื้อมาก ๆ เลยครับ) และในพื้นที่อำเภอป่าตองส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างจังหวัดกับชาวต่างชาติ โดยคนภูเก็ตจะอยู่ต่างอำเภอและอำเภอเมืองเป็นหลักเพราะฉะนั้นกระผมจึงคิดว่าปัญหาหนึ่งที่ต้องวนเวียนอยู่ในจังหวัดภูเก็ตก็คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมแน่นอนเลย ...... หลังทานอาหารเสร็จกระผมก็มาเปิดหนังโฆษณาของ Dtac ในเรื่องสำนึกรักบ้านเกิดให้ชาวภูเก็ตชมซึ่งได้รับความสนใจพอสมควรทีเดียว

ต่อมาก็เป็นช่วง CSR เชิงระบบที่มีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ อาทิ การสร้างความเข้าใจใน CSR ขององค์กร โดยเริ่มจากการจัดบรรยายเกี่ยวกับ CSR โดยนำบุคลากรในองค์กรมารวมกัน และเมื่อมีความรู้เรียบร้อยก็นำความรู้ดังกล่าวมาร่วมกันคิดกิจกรรมที่ได้จากบุคคลากรรวมมีการแสดงละครเกี่ยวกับ CSR เพื่อให้ทุกคนดูหลังจากจบกิจกรรม ส่วนอีกท่านก็ได้เลือกหัวข้อการสร้างความเข้าใจ CSR ในองค์กรเช่นเดียวกัน โดยเริ่มให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากรทางทะเลแก่เยาวชน และร่วมจัดกิจกรรมอาสามัคคุเทศโดยมีการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรแนวชายฝั่งทะเลแก่นักท่องเที่ยวด้วย

และสุดท้ายก็เป็นกิจกรรม Creative CSR ซึ่งมีโครงการที่น่าสนใจดังนี้ ได้แก่ “โครงการพี่ซิ่งน้องซ่อม” โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบแข่งมอเตอร์ไซค์ไปอบรมการซ่อมบำรุงที่ศูนย์โตโยต้าที่ผ่านการอบรมก็จะมีประกาศนียบัตรมอบให้ หลังจากเข้าอบรมก็จะมีการจัดคลีนิคบำรุงมอเตอร์ไซค์เคลื่อนที่โดยใช้กลุ่มเยาวชนเหล่านี้ในการให้บริการโดยมีการจัดตารางกำหนดการออกบริการด้วย ทั้งนี้เยาวชนดังกล่าวที่เข้าร่วมโครงการนี้จะมีสิทธิ์ได้เข้ารับทำงานกับ Toyota อีกด้วย

โครงการต่อมา คือ “โครงการขยะล้นเมือง เรื่องน่ากลัว อย่ามัวนิ่งเฉย” รณรงค์ให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับการแยกขยะเพื่อให้เกิดการตระหนักถึงปัญหาขยะ จัดตั้งธนาคารขยะ เช่น จัดตั้งให้มีรถ Mobile เวียนเก็บขยะทั่วเมืองโดยกำหนดวันเวลา และสถานที่ที่จะไปเก็บขยะในแต่ละวันรวมถึงมีราคากลางในการรับซื้อขยะอีกด้วย โดยทางด้านผู้ที่มีอาชีพเก็บขยะขายก็จะมียูนิฟอร์มอีกด้วยเป็นการยกระดับให้คนกลุ่มนี้ดูดียิ่งขึ้นด้วย

ส่วนโครงการสุดท้าย คือ “โครงการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพจังหวัดภูเก็ต” โดยโครงการจะเน้นการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตด้วยการเสียค่าธรรมเนียมในการเหยียบแผ่นดินจังหวัดภูเก็ตในด่านต่าง ๆ เช่น สนามบิน ด่านท่าฉัตรไชย เพื่อนำเงินดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาภูเก่าและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการจัดประกวดกิจกรรม CSR โดยนักท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตในทุกปีและมีการมอบรางวัลให้กับกิจกรรมที่ชนะเลิศด้วยการนำไปสู่การปฏิบัติจริงอีกด้วย

และก่อนที่งานจะเลิกผมก็โอกาสสนทนากับอาจารย์วิชา ก้องเกียรติวารี วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต โดยท่านกล่าวว่า “ทีแรกไม่เข้าใจสักนิดและไม่รู้ด้วยว่า CSR คืออะไร แต่มาวันนี้ถึงได้รู้ว่า CSR คือการประพฤติที่มีคุณธรรมเข้ามาเกี่ยวด้วยและต้องถูกต้องอีกต่างหาก ส่วนพลเมืองบรรษัทจะสามารถนำไปเผยแพร่ให้กับนักศึกษาผ่านชั่วโมงกิจกรรมในวิทยาลัยเทคนิคด้วย”

หลังจากที่คุยกันเสร็จ งานก็เลิกอย่างเป็นทางการแล้วครับ หลังจากที่ทีมงานเก็บของกันเรียบร้อยเราก็ไปมุ่งหน้าไปซื้อของฝากที่ร้านพรทิพย์ทันที ตามคำสั่งหม่อมแม่ของผมได้ไว้วานให้กระผมไปซื้อขนมเต้าซ้อประมาณ 2 กล่องถ้วน ซึ่งผมก็ได้ดูในสินค้าในร้านเรื่อยเปื่อยโดยเท่าที่สังเกตผลิตภัณฑ์จะมีการระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุไว้ชัดเจนทุกผลิตภัณฑ์ครับ (ไปดูร้านของฝากบ้านเกิดผม บางที่ไม่มีระบุเลยครับ ถามแม่ค้ายังไงแม่ค้าก็บอกว่าใหม่อยู่ดีแม้ฝุ่นจะล้อมกล่องแค่ไหนก็ตาม) หลัง Shopping เสร็จก็ไปฝากท้องต่อที่ร้านปากน้ำ และมุ่งหน้าสู่จังหวัดต่อไปทันทีครับ

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตรัง

เรามุ่งหน้าออกจากโรงแรมของจังหวัดพัทลุง แวะพักซื้อของที่โลตัสประมาณ 20 นาที พอออกมาผ่านถนนสายเดิมที่ผ่านมาเมื่อซักครู่ ก็เห็นอุบัติเหตุรถคว่ำอยู่ข้างทาง ผู้อ่านทุกท่านที่ใช้รถใช้ถนนก็ควรระวังด้วยนะครับ เพราะช่วงนี้ฝนตกบ่อยถนนค่อนข้างจะลื่นซะด้วย ก็ขอให้มีสติซักนิดหนึ่ง ใครอยากจะแซงก็ให้แซงไปนะครับ เราขับของเราดีก็พอแล้ว ระยะเวลาในการเดินทางไปจุดหมายต่อไป ก็ไม่ไกลมากนักครับ จะว่าไปแล้วถนนทางใต้นี่ต้นไม้เต็มไปหมดเลย แต่สภาพอากาศไม่ค่อยจะเป็นใจเนี่ยะซิ

เราเดินทางมายังจังหวัดที่มีความโด่งดังเรื่อง หมูย่างและติ่มซำ ใช้แล้วครับจังหวัดตรังนี่เอง พวกเรากะจะไปลองลิ้มรสชาติของหมูย่างเสียเหลือเกิน แต่เรามาถึงตอนเย็นจึงชวดไป เพราะเค้ามีขายแค่เฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น วันนี้เราออกไปทานอาหารเย็นไม่ครบทีมครับ เพราะอาจารย์พงศ์เกิดอยากจะลดหุ่นขึ้นมาจึงไม่ไปทานด้วย เราจึงออกไปกันเองมุ่งหน้าไปยังร้านบาหลี ตามที่ได้ยินชื่อมา ถามทางจากเจ้าหน้าที่โรงแรมก็ได้ความว่าขับไปไม่ถึง 5 นาทีหรอก แต่แล้วเราก็ได้วนหาอยู่ประมาณ 20 นาที ทำให้ทุกคนเริ่มหงุดหงิดกับอาการหิว โดยเฉพาะสาวๆ ยังดีที่ผมทานอะไรลองท้องมาแล้ว วนไปก็วนมาครับ ในที่สุดก็เจอ “ร้านบ้านสวนสุดาภรณ์” พี่ผึ้งจึงบอกว่า “เออร้านนี้แหละ มันแต่งสไตล์บาหลี” สรุปคือมันไม่ได้ชื่อร้านบาหลี ทำให้ต้องวนหาอยู่หลายรอบ.....บทเรียนครั้งสำคัญอีกแล้ว จับจองที่นั่งกันเรียบร้อย สั่งกันแบบบ้าพลัง ตายอดตายอยากมาจากไหน ไป 5 คน สั่งแปดอย่าง ผมจึงบอกให้ตัดออกอย่างหนึ่งก็ยังดี จึงเหลือเจ็ดอย่าง... มาจานแรก สัมตำก๋วยเตี๋ยวหลอด หมดอย่างรวดเร็วเพราะจานเล็กมาก จานต่อมา กุ้งราดซอสมะขาม กุ้งตัวอย่างใหญ่ 9 ตัว แม่เจ้า! เริ่มเอะใจว่าจานต่อๆ ไปจะเป็นยังไง อย่างที่คาด ใหญ่โคตะระ..ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเต้าหู้ทรงเครื่องใส่ชามยักษ์มา พี่ผึ้งสั่งแต่ผมกิน เกิดมาเด็กกว่าไม่ดีเลย เหอๆ อาหารจานใหญ่แบบเห็นแล้วตกใจ พูดกันไม่ออกทีเดียว ลำบากใครละทีนี้ ก็ผมกับพี่คนขับรถอีก เซ็งเลย...เป็นประจำไม่เข้าใจผู้หญิงเลย

การอบรมที่จังหวัดตรังนี้มีคนมาร่วมงานค่อนข้างเยอะ และการลงทะเบียนก็ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี ยิ้มแย้มเป็นกันเอง ในขณะที่แขกทุกท่านกำลังดูสารคดีอยู่นั้น ก็เกิดการขัดข้องทางเสียง เพราะแจ๊คหลวมผมจึงต้องวิ่งไปมาคอยจับคอยปรับประมาณ 5 รอบ ไม่ทันไรพลังงานจากข้าวเช้าก็หมดซะแล้ว หอบไปด้วยพูดไปด้วยเลยเหมือนจะพูดผิดๆ ถูกๆ ยังไงไม่รู้

เรื่องหน้าที่พลเมืองวันนี้ก็มีการเลือกในทุกๆ หัวข้อเลย เพราะว่าการปฏิบัติตามหน้าที่พลเมืองทุกอย่างนั้นล้วนทำให้ตัวเราและทุกๆอย่างรอบข้างดี ต้องจำหน่ายสินค้าอย่างมีคุณภาพ บริการดี ไม่คดโกง ควรจะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาสิ่งต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างมีความรับผิดชอบ มีสำนึกต่อสาธารณะ พูด คิด ทำแต่สิ่งดีๆ เข้าวัดเข้าโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ ถือศีล 5 ไม่ทำผิดกฎหมาย รับปากอะไรกับใครก็ต้องทำให้ได้ จงรักภักดีและยึดมั่นในพระบรมราโชวาท อยากให้พัฒนาจิตใจตนเองก่อน สิ่งอื่นๆ ก็จะดีขึ้นตามลำดับและปรากฏให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้มาอบรมอยากให้องค์กรในจังหวัดตรังประกอบธุรกิจเพื่อแสวงหากำไรโดยชอบธรรม ส่งเสริมให้พนักงานมีศาสนธรรมมีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด

สำหรับกิจกรรม CSR เชิงระบบ 2 ท่านที่มานำเสนอได้เลือกในหัวข้อที่อยากจะให้องค์กรเพิ่มความเข้าใจในเรื่อง CSR โดยต้องจัดการอบรมหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร มีการติดตามประเมินผลตามความเปลี่ยนแปลงทุกไตรมาส ตลอดทั้งปี มีการพูดคุยเสวนาเรื่อง CSR ที่องค์กรได้ทำไปบ้างแล้ว เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนโครงการ CSR ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทุกๆ คนจะมีความเข้าใจมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น ได้รับความชื่นชมจากองค์กรอื่น ขยายผลเผยแพร่สู่ภายนอกทั่วประเทศ คนที่สามเป็นน้องนักศึกษา อยากให้วิทยาลัยทำการทบทวนปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กร โดยอยากให้ทำงานสะดวก รวดเร็ว และมีความรับผิดชอบมากขึ้น ให้บริการกับนักศึกษาได้ดี ระบบนี้จะทำให้วิทยาลัยพัฒนาขึ้น นักเรียนก็จะสนใจเข้ามาเรียนมากขึ้น

ในวันนี้กิจกรรม Creative CSR ของคนเมืองตรังเน้นเกี่ยวกับ ตุ๊กๆ ซะเหลือเกิน ผมจึงได้นำรายละเอียดทั้งสามโครงการมารวมกันครับ ได้แก่ “โครงการตุ๊กๆ โซล่า เซลล์” โดยใช้แผง Solar Cell มาติดกับตัวรถทำให้นำพลังงานแสงอาทิตย์มาขับเคลื่อนเครื่องยนต์แทนน้ำมัน ต่อมา คือ “โครงการฟื้นฟูตุ๊กๆ หัวกบเพื่อการท่องเที่ยวรักษาสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง” ปรับปรุงรูปแบบรถใหม่ เติมป้ายโฆษณาสถานที่ท่องเที่ยวและสินค้า OTOP เช่น ขนมเค้ก หมูย่าง เบอร์โทรสถานที่แจ้งเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น ปรับปรุงเครื่องให้ใช้ ไบโอดีเซลได้ จัดกิจกรรมต่างๆ ที่ให้ตุ๊กๆ ได้ร่วมและจัดประกวดรถประจำปี และ “โครงการตุ๊กๆ รักษ์ตรัง” สร้างจิตสำนึกให้ชาวตรังโดยไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะทางเสียงและไม่มีควันมาก จัดประกวด Miss Tuk Tuk ทั้ง 3 โครงการล้วนมีเป้าหมายที่จะทำให้คนในจังหวัดมีรายได้มีขึ้น ลดพลังงาน สภาพแวดล้อมดีขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวพร้อมดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งภายในและนอกประเทศ

เราได้อีกโครงการที่ไม่เหมือนกับโครงการข้างต้น คือ “โครงการเมืองตรัง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” โดยจัดตั้งกลุ่มผลิต EM รับบริจาคเศษอาหารจากชุมชน ผลิต EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ที่ได้จากการหมัก นำมาขยายเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของการใช้งานในชุมชน มีการแจกจ่ายให้ไปใช้งานจริง ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ทำเป็นน้ำยาเอนกประสงค์ ทำความสะอาด ทำยากันยุง หรือใช้ทางการเกษตรก็ดี เกษตรกรและชาวประมงรวมทั้งนักท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์มาก ลดค่าใช้จ่าย ลดสารเคมี ลดน้ำเสีย ลดขยะ อาหารพวกพืชผักเนื้อก็จะสะอาด ผู้ที่บริโภคล้วนสุขภาพดี

การบรรยายลุล่วงไปด้วยดี เราจึงรีบเก็บสัมภาระทันทีเพราะว่าวันนี้มีอะไรพิเศษสำหรับอาจารย์พงศ์รออยู่ที่จังหวัดต่อไป และจำเป็นต้องรีบไปอย่างยิ่ง เพราะถ้าไม่รีบอาจจะมีอาการเครียดทั้งทีมได้ ฮ่าๆ ครับภรรยาสุดสวยของอาจารย์พงศ์ได้นั่งเครื่องมารออยู่ที่ ที่หมายต่อไปเรียบร้อย รู้มาว่าเธอยังไม่ได้ทานอะไรและกำลังหิวมากด้วย เหอๆ รถตู้ติดเทอร์โบ ประมาณว่าจุดหมายมีไว้พุ่งชน

ที่หมายของเราคือจังหวัดที่ๆ มีนักท่องเที่ยวมาเยอะมาก เกาะก็เยอะครับ ทะเลก็สวยใส หาดทรายขาวนุ่ม ที่ไหนผมยังไม่บอกรู้แต่ว่า ทีมอาจารย์ฌานสิทธิ์ ก็มาสมทบเราด้วย เพราะวันนี้เป็นวันศุกร์สุดสัปดาห์ วันถัดไปเราได้นัดแนะที่จะออกเที่ยวด้วยกัน จึงทำให้ต้องไปรวมพลยังที่หมายเดียวกับครับ จะเป็นที่ไหน เราจะไป Adventure หรือทำ Activities อะไรกันบ้างนั้น อย่าลืมติดตามกันนะครับ สำหรับวันนี้ผมต้องขออนุญาตไปทานผัดกระเพราที่สั่งไว้ก่อน ไม่ไหวแว้ววววว! สวัสดีครับ

สงขลา

ตอนนี้พวกกระผมก็กำลังเดินทางไปจังหวัดสงขลาซึ่งจากคำบอกเล่าของทีมงานสาวว่างาน CSR Campus ของปีที่แล้วมีการวางระเบิดในละแวกใกล้โรงแรมของที่จัดงานปีที่แล้วอีกด้วย และในตอนนี้เวลาได้ผ่านมาประมาณ 1 ปีแล้ว ถ้าถามว่าวันนี้ทีมงานเรากลัวไหมก็ขอตอบอย่างจริงใจว่ากลัวครับ กลัวประวัติศาสตร์จะซ้ำอีกรอบเพราะฉะนั้นเมื่อเรามาถึงจังหวัดสงขลาเราจึงมุ่งสู่โรงแรมลีการ์เดนท์ทันทีครับ โดยในระหว่างเดินทางไปโรงแรมผมก็ได้เห็นความเจริญมากมายที่อยู่ในจังหวัดสงขลาในใจก็อยากจะลงไปเที่ยวใจจะขาด แต่อีกใจก็มองว่าหากตูมขึ้นมาจะทำยังไง (ตัดสินใจลำบากจริง ๆ) พอมาถึงโรงแรมเรียบร้อย ทีมงานของเราก็ต่างคนต่างไป Check In ห้องอย่างเรียบร้อย

หลังจากเข้าห้องพักผมก็เริ่มเคลียร์งาน Blog ทั้งหลายเพื่อให้เสร็จทันเวลา หลังจากทำไปไม่นานความง่วงก็เริ่มเข้ามาทำลายสมาธิของผม กระผมจึงเดินเพื่อไปอาบน้ำเพื่อปลุกความสดชื่นให้กลับมาอีกครั้งแต่หลังจากกระผมอาบเสร็จก็ง่วงเลยครับ จึงไปหยิบหนังสือ Money & Wealth มาอ่านเล่น ๆ เพื่อเตรียมตัวสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองเพราะยิ่งมีการสร้างวินัยการออมตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้เงินในอนาคตของกระผมมีการโอกาสเพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย (ขอศึกษาสภาพตลาดอีกสักพักล่ะกัน) โดยรูปแบบการออมก็สามารถผสมผสานได้อย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ หรือ กองทุนต่าง ๆ เป็นต้น หลังจากอ่านได้สักพักกระผมก็ผล็อยหลับไปอย่างไม่รู้ตัวแล้วครับ

และเมื่อถึงเวลา 6.15 น.กระผมก็ตื่นขึ้นมางัวเงียแป๊บนึงและก็เริ่มไปดำเนินปฏิบัติภารกิจส่วนตัวและมานั่งพักเพื่อเสพข่าวสักพักซึ่งข่าววันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่พาดหัวไว้ตั้งแต่เมื่อวานไม่ว่าจะเป็นข่าวประหารพลโทชะลอ เกิดเทศ ซึ่งคดีดังกล่าวยืดเยื้อมาประมาณ 17 ปีเศษแล้ว (คดีดำเนินการยาวนานอย่างมาก) ข่าวฆาตกรฆ่าหั่นศพทั้งผู้หญิงและเด็ก (ฟังแล้วก็อนาถไปจึงไม่ค่อยสนใจฟังเท่าไร) และข่าวสุดท้ายก็คือตลาดหุ้นบ้านเราที่ถูกแรงเทขายจากต่างชาติทำให้ดัชนีตกมาเหลือ 690 จุดกว่า ๆ (ท่านที่จะเข้าตอนนี้ก็ต้องระวังซักนิดนะครับ เพราะว่าฝรั่งเขาถือหุ้นต้นทุนต่ำไว้เยอะ) หลังจากฟังข่าวมามากมายตอนนี้กระผมกับพี่บอยก็พร้อมทานอาหารเช้าที่โต๊ะอาหารแล้วครับ เมื่อทานเสร็จทางทีมงานจึงมุ่งตรงไปสู่ห้องจัดเลี้ยงทันทีโดยแขกในวันนี้มีมาจากองค์กรออมสินค่อนข้างเยอะพอสมควร กระผมจึงชวนคุยสักพักจึงได้เรื่องมาว่าส่วนใหญ่วันนี้ที่มาเป็นตำแหน่งระดับผู้จัดการทั้งนั้น เพราะที่จังหวัดสงขลาเป็นที่สังกัดของธนาคารออมสินระดับภาคอีกด้วย รวมถึงองค์กรต่าง ๆ วันนี้ก็มากันพอสมควรเช่นเดียวกัน

มาถึงช่วงกิจกรรมหน้าที่พลเมืองซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดสงขลาดังนี้ อาทิ การเป็นผู้มีความสัตย์ด้วยการที่ตนเองเป็นแผนกจัดซื้อซึ่งผู้เสนอขายบางท่านเสนอส่วนลดให้โดยไม่นำส่วนลดดังกล่าวมาเข้ากระเป๋าตนเองส่วน ส่วนอีกข้อ คือ เป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพของตนเองโดยชอบธรรม ด้วยการรับผิดชอบด้านการศึกษาอย่างเคร่งครัด มีความพากเพียรในการศึกษาเล่าเรียน คอยแสวงหาความรู้ต่าง ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอด ส่วนพลเมืองบรรษัทอยากให้ธุรกิจเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายรวมถึงกฎระเบียบของท้องถิ่นโดยเคร่งครัดเพราะจะทำให้บ้านเมืองอยู่อย่างสงบสุข ส่วนอีกข้อ คือ อยากให้ธุรกิจส่งเสริมให้พนักงานมีศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะถ้าองค์กรตระหนักถึงศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจะทำให้ทั้งการดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นไปอย่างมีความสุข และยังไม่ส่งผลกระทบไปสู่สิ่งแวดล้อม สังคม และประเทศชาติอีกด้วย

และเมื่อมาถึงกิจกรรม CSR เชิงระบบก็มีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ เช่น การเข้าร่วมในความริเริ่มทาง CSR โดยสมัครใจโดยให้องค์กรเริ่มใส่ใจคนชรา เด็ก และผู้ด้อยโอกาส โดยเริ่มจากการรับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็นมาก่อนและต่อมาก็จะร่วมกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมให้สิ่งของต่าง ๆ กระจายสู่ผู้ด้อยโอกาสมากที่สุด ส่วนหัวข้อต่อมา คือ การสร้างความเข้าใจในเรื่อง CSR ขององค์กรโดยเริ่มจากการเผยแพร่ความหมายความรู้เกี่ยวกับ CSR โดยเริ่มเผยแพร่จากนักศึกษาในวิทยาลัย เพราะถ้านักศึกษาไม่เข้าใจ CSR และอยู่ดี ๆ มีกิจกรรม CSR ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจะทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจกิจกรรมเลยว่าทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรม CSR ในสถานศึกษาไม่เกิดความต่อเนื่องอีกด้วย

ในวันนี้ผมก็มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ 3 ท่านซึ่งมาจากหลายสถาบันด้วยกันโดยท่านแรก คือ อาจารย์พรรณประไพ เบญจสุขสวัสดิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดสงขลาซึ่งได้กล่าวว่า “เดิมทีไม่เข้าใจเรื่อง CSR และคิดว่าเป็นเรื่องของธุรกิจเท่านั้น ซึ่งหลังฟังไปแล้วทำให้ทราบว่า CSR เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนรวมถึงวันนี้ได้พานักศึกษาองค์การนักศึกษาวิชาชีพมาด้วยซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากเพราะนักศึกษาเหล่านี้จะสามารถนำเอาความรู้ CSR วันนี้ไปเผยแพร่ต่ออีกด้วย ส่วนพลเมืองบรรษัทสามารถเผยแพร่ได้เพราะปกติอาจารย์จะพร่ำสอนนักศึกษามาตลอดว่าสังคมจะเป็นระเบียบได้ต้องเริ่มจากวินัยจากตนเองก่อนเสมอ”

ส่วนอาจารย์ท่านต่อมา คือ อาจารย์กฤษฎา หนูประเสริฐ วิทยาลัยชุมชนสงขลา ได้กล่าวว่า “วันนี้ได้รับความรู้มากมาย ซึ่ง CSR เป็นหน้าที่หลักของวิทยาลัยชุมชนอยู่แล้ว ทั้งความรู้ CSR วันนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนอย่างมาก เพราะนักศึกษาทุกท่านทำงานแล้วก็จะสามารถนำความรู้วันนี้ไปปฏิบัติในการทำงานได้อีกด้วย ส่วนพลเมืองบรรษัทต้องเริ่มจากองค์กรก่อนในการรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดและนำไปซึ่งการรับผิดชอบต่อสังคมไกลและสิ่งแวดล้อม”

ส่วนอาจารย์ท่านสุดท้ายวันนี้ คือ อาจารย์แจ่มใส ตั้งธรรม วิทยาลัยการอาชีพหลวงประทานราชวิกร ได้กล่าวว่า “ทีแรกเข้าใจว่าการทำ CSR คือความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเดียว แต่วันนี้ได้รู้เพิ่มมาว่า CSR เป็นการทำหน้าภายในองค์กรของเราอีกด้วย ส่วนพลเมืองบรรษัทต้องมีการถ่ายทอดสู่นักศึกษาได้อย่างแน่นอนผ่านรายวิชาการตลาดเพื่อสังคม และยังต้องนำไปเผยแพร่ต่อคณะครูอาจารย์อีกด้วยเพื่อให้วิทยาลัยสามารถทำ CSR อย่างแท้จริงและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อวิทยาลัยอีกด้วย”

มาถึงกิจกรรมสุดท้ายนั่นก็คือ กิจกรรม Creative CSR ซึ่งมีโครงการที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดสงขลาดังนี้เช่น “โครงการซิ่งด้วย ช่วยเมือง” โดยเริ่มจากรับสมัครกลุ่มเยาวชนที่มั่วสุมและชอบซิ่งรถกันมาก่อน โดยนำเยาวชนมาจัดแข่งรถภายในสถานที่ให้แข่งอย่างถูกต้อง ซึ่งในโครงการจะมีการจัดอบรมให้ความรู้ในด้านกฎระเบียบจราจรอีกด้วย รวมถึงการสอนให้เยาวชนเหล่านี้สามารถดูแลความปลอดภัยในชุมชนเป็นสายให้ตำรวจในการเฝ้าระวังปัญหา และหากเยาวชนคนไหนทำหน้าที่ได้อย่างดีก็จะมีการเชิดชูเกียรติพร้อมทั้งมอบของรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจในการทำดีต่อไป

ส่วนโครงการต่อมา คือ “โครงการเยาวชนคนเก่งอาสาพาเที่ยว” โดยจังหวัดสงขลา ททท. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ มหาวิทยาลัย ร่วมกันดำเนินโครงการนี้ด้วยการผลิตยุวมัคคุเทศก์เป็นไกด์นำเที่ยวในพื้นที่ของอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสงขลา โดยเปิดรับสมัครนักเรียนหรือนักศึกษาจากทุกอำเภอของจังหวัดสงขลามาเข้าโครงการนี้ ซึ่งจะมีการจัดอบรมให้แก่ยุวมัคคุเทศก์เหล่านี้ในด้านทักษะการนำเที่ยว การใช้ภาษา และเป็นพี่เลี้ยงในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวอีกด้วยโดยโครงการนี้จะทำให้เยาวชนในโครงการสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเสริมสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดสงขลาในด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย

ส่วนโครงการสุดท้าย คือ “โครงการ Bicycle Bin คาราวานจัดการขยะ” โดยในตัวโครงการจะมีการร่วมจัดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน เริ่มต้นดำเนินการโดยจุดประเด็นให้สังคมตระหนักถึงปัญหาเรื่องขยะ และหลังจากนั้นก็จะมีการจัดนิทรรศการรวมถึงกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อร่วมกันเก็บขยะโดยมีภาครัฐเข้ามาสนับสนุนด้วย และหากผู้ใดสามารถเก็บขยะได้มากก็สามารถนำขยะดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของ เช่น ไข่ เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เป็นต้น พร้อมกับมีการจัดประกวดและค้นหาว่าชุมชนใดได้ดำเนินการแยกขยะและสามารถจัดการได้ดีโดยมีเกณฑ์กำหนดอีกด้วย

และในที่สุด CSR Campus จังหวัดสงขลาวันนี้ก็สำเร็จด้วยดีและในขณะที่กระผมกำลังรอเคลียร์ของภายในโรงแรมอยู่ กระผมก็ได้ไปชวนแม่บ้านท่านหนึ่งคุยด้วยในเรื่องของความปลอดภัยในจังหวัดสงขลา (ยังไม่หายสงสัยจากเมื่อวาน) ซึ่งแม่บ้านท่านนี้บอกไม่ต้องกลัวหรอก แถวนี้ เดี๋ยวนี้ มีแต่ความปลอดภัยแล้ว สามารถเดินเที่ยวได้อย่างสบายใจได้เลยรับประกันเพราะปกติป้าทำงานอยู่ที่นี่ก็ต้องกลับบ้านดึกอีกด้วยยังไม่เคยเกิดอันตรายกับป้าสักครั้งเลย (เริ่มสบายใจขึ้นมาหน่อยหนึ่งแล้วเรา) โดยบริเวณที่คุณป้าคิดว่าอันตรายน่าจะเป็นอำเภอที่มีอาณาเขตติดกับจังหวัดปัตตานีมากกว่า โดยในวันนี้ก็มีคณะครูอาจารย์ที่ขอกลับก่อนด้วยเพราะบริเวณที่อาศัยเป็นพื้นที่สีแดงถ้าหากกลับตามเวลาจะทำให้ไปถึงบ้านมืดและอาจเกิดอันตรายเกิดขึ้นได้ด้วย (เสียดายความรู้แทนอาจารย์เลยแต่ก็ต้องมองชีวิตเป็นเรื่องสำคัญที่สุดแหละครับ)

จากนั้นเราก็เริ่มมุ่งหน้าหาของทานตอนเย็นต่อโดยวันนี้เราไปฝากท้องที่ร้านไก่ทอดปรีชาครับ แหม ไก่ทอดอร่อยได้ใจจริง ๆ ส่วนกระผมสั่งไก่กอและ (เนื้ออกไก่ราดซอสบาร์บีคิว) ซึ่งทีแรกทางร้านได้บอกว่าสิ่งนี้คือ ไก่จ๊อ กระผมก็รู้สึกงงเล็กน้อยเลยครับแต่ตอนหลังก็มารู้ว่าแม่ค้าพูดผิดก็เลยฮากันไปทั้งคนสั่งและแม่ค้า และศัพท์วันนี้ที่ผมได้รู้เพิ่มขึ้นมาก็คือที่นี่เรียกผลไม้รวมว่า "ส้ม" ครับ แม้ว่าในผลไม้รวมจะไม่มีส้มสักชิ้นแต่ก็ยังเรียกว่าส้มครับ เหอ ๆ แปลกไปอีกแบบ แล้วถ้าจะสั่งส้มเป็นลูกจริงๆต้องบอกว่าอะไรน้อ... และวันนี้เราก็จะไปพักที่จังหวัดกระบี่เพื่อสมทบกับทีมคุณแม๊กซ์อีกครั้งด้วยครับ อย่าลืมติดตามนะครับว่าจังหวัดต่อไปคือจังหวัดอะไร

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พัทลุง

สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้อง! เราได้กลับมาเจอกันอีกแล้วนะครับ กับหนุ่มอารมณ์ดี (ไม่มีใครชม ชมตัวเอง) กระผมนายแม็กซ์มารายงานตัวครับผม! ทุกๆ คนในทีมของอาจารย์วุฒิพงศ์และอาจารย์ฌานสิทธิ์ ได้มารวมตัวกันที่ทำงาน ทักทายเฮฮาอย่างเป็นกันเองทีเดียว โดยทุกท่านแต่งตัว ทำท่าเหมือนเราจะหยุดไปเที่ยว Long Weekend ยังงั้นแหละ ไม่ได้รู้สึกกลัวอะไรกันเลย ไปเที่ยวไหน วางแผนไปไหนบ้าง ตรงไหนสวย คำถามยิงออกมาเรื่อยๆ เลยครับ เราจะเดินทางลงใต้กันนะ ไม่ได้กลัวระเบิดหรือปืนกันเลยเหรอไง ส่วนผมก็นั่งดีดกีตาร์รออย่างสบายอารมณ์ ปราศจากความกลัวเช่นกัน การเดินทางครั้งนี้เราจะไปยาวเลยครับ จะไม่ได้กลับบ้านประมาณ 10 วัน มีสิ่งพิเศษอยู่ คือ ทั้งสองทีมนั้นได้ผู้ช่วยเพิ่มมาอีกทีมละหนึ่งคน โดยทีมอาจารย์วุฒิพงศ์ได้ น้องโอ๋ (น้องสาวอาจารย์พงศ์) มาสมทบ ส่วนทีมอาจารย์ฌานสิทธิ์ได้ น้องตอง ซึ่งเธอมีอำนาจในการออกคำสั่งท่านพี่หนึ่งของผมอย่างมาก ฮ่าๆๆ พี่หนึ่งคงแผงฤทธิ์ไม่ออกในทริปนี้เป็นแน่

เราได้ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่แดนใต้ทันที ก็ได้แวะปั๊มเข้าห้องน้ำ ทานข้าว (ไม่ใช่ที่ห้องน้ำนะ (-_-‘)) ระหว่างเดินทางนั้นทีมของผม ได้มีการศึกษาภาษาอังกฤษจาก VCD ไปในตัว Chris Unseen มีท่านได้ดูแล้วจะรู้เลยว่า การเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้ยากอย่างที่คิด ทั้งยังสนุกสนาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับทั้ง Teacher and Student นี่เอามาใช้ซะเลย อาจารย์ Christopher Wright ครับ เป็นการ Talk Show ที่ผมนับถือเลยระยะเวลา 3 ชั่วโมงกว่าๆ ที่ไม่เบื่อเลย ทีมงานแต่ละคนขำกันไม่หยุด ฮ่าๆ ใครที่ยังไม่ได้ชมกันก็หาซื้อได้ตามร้านขาย VCD, DVD ทั่วไป ผมแนะนำอย่างยิ่ง คนไทยที่ได้ลองชมคิดว่าล้วนแล้วแต่อยากจะเรียนภาษาต่างประเทศขึ้นมาเลยทีเดียว ผมจึงลักจำวิธีการพูด รูปแบบการพูดมาประยุกต์ใช้บ้าง ในการออกอบรมแต่ละที่อาจจะได้ลองใช้แนวของท่านบ้าง

ระยะเวลาอันยาวนานในการเดินทางหดสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อเราเดินทางเข้าใกล้จุดหมายเต็มที มีคำถามเกิดขึ้นจากพี่คนขับรถ มีแผนที่ไหม ไม่มี.... รู้ว่าโรงแรมอยู่ใกล้ๆ ท่ารถนะค่ะ.... มีข้อมูลแค่นี้ เหอๆๆ มืดด้วย เอาละซิ และแล้วก็ลองดูครับเลี้ยวซ้ายเข้ามา เห็นชื่อโรงแรมอยู่ ใกล้กับท่ารถ มีโรงแรมเดียว คือ โรงแรมวังโนรา จังหวัดพัทลุงครับ เรามาถึงก็ดึกมากๆ แล้วผมจึงไม่รู้ว่ารอบๆ นั้นสวยรึป่าว เข้าห้องพักกันเรียบร้อย ก็ทันดูข่าว 3 มิติ พอดีมีข่าวฆาตกรรม หั่นศพ โอว...มนุษย์เรามันกล้าที่จะทำได้ยังไง แค่หั่นเนื้อไก่เป็นตัวผมก็หลอนแล้ว สังคมเรามันเพี้ยนไปแล้วจริงๆ

เช้ารุ่งขึ้น อาจารย์วุฒิพงศ์ตื่นแต่เช้าแต่งตัว ดูมีพลังมากพร้อมที่จะบรรยายเต็มที่ หลังจากหายหวัดแล้ว ท่านได้เปิดหน้าต่างแล้วบอกให้ผมดูสัญลักษณ์ของที่นี่ นั่นคือเขาหัวแตก สวยดีครับแปลกด้วย เหมือนมันโดนระเบิดมาทำให้เป็นทรงนั้นเลย เขียวไปหมดครับ ถ้าเข้าไปใกล้ๆ คิดว่าทัศนียภาพจะงดงามกว่าในโรงแรมแน่นอน แต่ก็ต้องเลิกสนใจเพราะ เดี๋ยวจะสาย กลัวจะโดนดุเอาจาก สาวๆ ในทีมครับ จะว่าไปแล้ว ผมสองคน ไม่เคยที่จะลงไปก่อนพวกเธอได้เลย (o_+) แป่ว! แต่พวกเธอก็ไม่เคยปริปากบ่นครับ

พี่ๆ ได้รับลงทะเบียนอย่างขะมักเขม้น วันนี้ดูทุกคนเบาแรงทีเดียว (รึป่าว) เพราะมีคนมาช่วยเพิ่ม 1 คน การอบรมเริ่มจากดูสารคดี และกิจกรรมเล่นเกมจากผมเช่นเคย ผมได้กล่าวชมทุกท่านที่ จังหวัดพัทลุงว่า ประทับใจอย่างยิ่งเลย เพราะที่นี่เป็นที่แรกก็ว่าได้ ที่พูดง่าย มาถึงก็นั่งข้างหน้าให้เต็มก่อน ลงทะเบียนเสร็จก็เดินเข้า ไม่มีการยืนรอกันให้เสียเวลา หน้าตาดุแต่ใจดี มีวินัยด้วย ควรเอาเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่งครับ ตอนแรกผมคิดว่าจะพูดยากซะอีก การอบรมของอาจารย์เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ วันนี้ผู้มาอบรมก็ยกมือตอบในหลายๆ คำถามที่อาจารย์ได้ถามออกไป ดูให้ความสนใจดีมาก ทุกอย่างจึงดำเนินไปด้วยความราบรื่น

กิจกรรมหน้าที่พลเมืองของชาวจังหวัดพัทลุง จะพูดถึงในทุกๆ มุมมองและหัวข้อ เน้นไปในความเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ต้องมีการใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา ไม่ทำการค้าที่คดโกง ช่วยกันทำงาน ต้องซื่อสัตย์ต่อผู้คนรอบข้าง ที่สำคัญทุกๆ คนต้องปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด ช่วยเหลือองค์กร ในการประหยัด ลดการใช้พลังงานเท่าที่จะทำได้ คนรอบข้างเรา คนในชุมชนล้วนจะได้ประโยชน์ทั้งสิ้น อยากให้องค์กรแสดงความเป็นพลเมืองบรรษัท โดยการไม่ดำเนินกิจการที่สร้างความเสียหาย เคารพกฎหมาย ประกอบธุรกิจโดยชอบธรรม เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส สนับสนุนการดำเนินกิจการตามบทบาทที่เอื้ออำนวย ควรจะช่วยเหลือสังคม ร่วมกับทุกๆ คนในสังคม การที่องค์กรจะยืนอยู่ได้ต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นๆ รอบตัวองค์กรด้วย ไม่ใช่นึกถึงแต่ผลประโยชน์ตนเอง

CSR เชิงระบบวันนี้ อยากให้เพิ่มความเข้าใจเรื่อง CSR ให้กับองค์กร อยากให้มีการอบรม โดยการเชิญวิทยากร ผู้มีความรู้ มาบรรยายให้พนักงานได้ตระหนักและเข้าใจ จะได้นำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้อง อยากให้มีการสื่อสารเรื่อง CSR ด้วยวิธีการหลากหลายให้คนในองค์กรได้รู้ ให้มีการระดมความคิด มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน นำไปสู่การปฏิบัติจริงในสังคม สร้างประโยชน์ให้สังคมได้ สื่อให้สังคมรู้อย่างทั่วถึง อยากให้ทุกคนมีมุมมองที่ถูกต้อง สังคมยอมรับในการทำงานของพนักงาน ถ้าทุกๆ คนได้รับความรู้แล้ว ก็จะไม่มีการคิดคดโกง ทุกๆ คนก็จะเริ่มอยู่ในศีลธรรม

สำหรับกิจกรรม Creative CSR ในวันนี้ เราได้โครงการที่มีชื่อฟังดูน่าสนใจอย่างยิ่งทั้ง 3 โครงการเลย ได้แก่ “โครงการดื่มน้ำแร่ แช่น้ำร้อน พักผ่อนเขาชัยสน” โดยเขาชัยสนมีแหล่งน้ำแร่อยู่ จะมีการต่อท่อจากบ่อน้ำแร่มาถึงสถานที่พักตากอากาศ จะได้มีน้ำแร่แช่กัน โดยไม่ต้องไปถึงญี่ปุ่น สามารถนำน้ำแร่มาปั่นไฟด้วย เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โฆษณาประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ แบรนด์ของน้ำแร่จะเป็นที่จดจำ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ส่งเสริมผลผลิตจากน้ำแร่ ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน รายได้ประชาชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ผู้มาใช้บริการมีสุขภาพดีขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้น

ต่อมา คือ “โครงการข้าวสังข์หยดลดมลพิษ ชีวจิตคู่สุขภาพ” รวมกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยด ปลูกข้าวปลอดสารพิษ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม จัดหาผู้สนับสนุน เกี่ยวกับข้าวสังข์หยด ที่เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นข้าวพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของพัทลุง ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามิน B1-B12 เป็นต้น จะมีการสร้างงานในท้องถิ่น สุขภาพผู้บริโภคดีขึ้น ก่อให้เกิดการขยายงานสร้างอาชีพไปสู่กลุ่มชุมชนต่างๆ

และ “โครงการชีววิถี เงาะป่า ซาไก” เพื่อการอนุรักษ์ เงาะป่า ซึ่งกำลังจะสูญพันธ์ แต่ที่พัทลุงจะมีเงาะป่าอยู่ ช่วยเหลือให้พวกเผ่าซาไก มีการสร้างป่า ปลูกต้นไม้ให้มากขึ้นเพื่อเผ่าซาไก ได้ใช้ชีวิตร่วมกับสังคมปัจจุบันได้ แต่มีการใช้วิถีชีวิตแบบเก่า เพื่อเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รักษาชนเผ่าดั่งเดิมเอาไว้ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวซาไกจะดีขึ้น เลิกเร่ร่อน สภาพแวดล้อมของป่าดีขึ้น

วันนี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์มลฑา กุลฑล วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง ซึ่งท่านกล่าวกับผมว่า “เป็นโครงการที่ดี ได้มาพบปะกับหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าใจในการบริหารองค์กร ได้รับความรู้มากจากการเข้ารับฟัง คิดว่าการมาจัดกิจกรรมนี้ให้ที่นี่ดีมากครับ เพราะทุกคนน่าจะมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคมของเรา คิดว่าสามารถนำเรื่องต่างๆ ที่ได้รับฟังไปสอนได้ วิทยาลัยเองก็ตระหนักถึงเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเรื่องการจัดการ คุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ รวมถึงถ้าเรานำ CSR ไปใช้ เรามั่นใจว่าเด็กที่จบไปจะมีประสิทธิภาพ การศึกษาสมัยใหม่เราเน้นเกี่ยวกับการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย”

การอบรมจบลงด้วยการแจกเสื้อที่ระลึกอย่างสนุกสนาน และหลังจากที่ผู้เข้าอบรมได้แยกย้ายกันไปแล้ว ผมได้พยายามที่จะถ่ายรูป “เขาหัวแตก” แต่มันค่อนข้างไกลถ้าจับภาพจากกล้องถ่ายรูป จึงไม่สามารถเก็บภาพและมุมสวยๆ มาได้ ได้แต่ยืนดู (T-T) ก่อนที่จะออกเดินทางไปยังจุดหมายต่อไป ฝนก็เริ่มตกลงมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ถึงกระนั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับเราที่จะเดินทาง แต่แล้วผมก็หิวขึ้นมา พี่ๆก็คัดค้านกันใหญ่ พี่คนขับรถก็เป็นไปกับเขาด้วย โถ่...สงสารตัวเองมาคราวนี้ผมโดนรุมตลอด หาว่าอีกสักพักก็จะแวะกินข้าวแล้ว พอลงไปซื้อเท่านั้นละ ซื้อของกินมาเยอะกว่าผมอีก....ไม่รู้จะทรงอำนาจกันไปถึงไหน ฮ่าๆ
การแหย่กันล้อกันเล่น ก็เป็นการแสดงถึงความห่วงใยอย่างหนึ่ง สำหรับทุกๆ ท่านเองก็เช่นกัน เวลามีใครเข้ามาวุ่นวายกับเราก็อย่าไปรำคาญนะครับ เพราะเค้าอาจจะหวังดีกับเราอย่างที่สุดก็เป็นได้ ทุกๆ อย่างขึ้นอยู่กับจิตใจที่เยือกเย็น และมุมมองที่ดี จะทำให้ทุกอย่าง ส.บ.ม. สบายมาก! สำหรับภารกิจของเราในจังหวัดพัทลุงก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ไม่มีอะไรที่ต้องเสี่ยงภัยเกิดขึ้นครับ ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพตัวเองด้วย สวัสดีครับ!