ในวันนี้ Blog ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็น 3 จังหวัดของประเทศไทยก็ได้ลงเผยโฉมให้เราเห็นกันซะทีนะครับ (รอกันจนเหงือกแห้งทีเดียว) ซึ่งเนื้อหาในวันนี้กระผมก็ไม่ได้ลงไปเองหรอกครับ แต่มีทีมอาจารย์ที่เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อาสาไปให้ความรู้ CSR (ต้องขอบคุณมากจริง ๆ มิเช่นนั้นชาวบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คงได้เห็นหน้าตาทีมงานของผมอย่างตัวเป็น ๆ แน่นอน) หวังว่าการอบรมครั้งนี้คงจะสร้างสำนึกความรับผิดชอบในหน้าที่ของแต่ละบุคคลให้เกิดผลกระทบเชิงลบแก่ผู้อื่นน้อยที่สุดไม่มากก็น้อยนะครับ
มาในช่วงหน้าที่พลเมืองและพลเมืองบรรษัทก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดยะลามากมาย อาทิ การเป็นผู้ที่เชื่อฟังยำเกรงต่อพระราชกำหนดกฎหมายของประเทศบ้านเมืองทุกเมื่อด้วยการจ่ายภาษีตามกฎหมายที่กำหนดทุกปี และการสวมหมวกกันน็อคเวลาขับขี่จักรยานยนต์ ส่วนอีกหัวข้อที่น่าสนใจ คือ เป็นผู้มีความสัตย์โดยเริ่มจากการซื่อสัตย์ต่อการทำงานไม่เอาเปรียบผู้อื่น เช่น เพื่อนทำงาน 8 ชั่วโมงเราก็ต้องทำ 8 ชั่วโมงเท่ากันอย่างเต็มความสามารถ เป็นต้น และหัวข้อพลเมืองบรรษัทที่น่าสนใจก็มีดังนี้ อาทิ การส่งเสริมให้พนักงานมีศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะถ้าบุคคลหรือองค์กรมีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมทั้งใช้เป็นหลักในการทำงานแล้วจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนอีกหัวข้อ คือ การไม่ดำเนินกิจการที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อส่วนรวมเพราะทุก ๆ ธุรกิจควรมีจรรยาบรรณทางธุรกิจโดยเริ่มจากการคำนึงถึงส่วนรวมและสังคมเป็นหลักก่อน มิใช่คำนึงแต่ผลกำไรเป็นที่ตั้งอย่างเดียวเท่านั้น
มาถึงช่วงกิจกรรม CSR เชิงระบบก็มีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ อาทิ การเพิ่มความเชื่อถือได้ในการดำเนิน CSR ขององค์กรเนื่องจากบางโครงการ CSR ขององค์กรบางโครงการยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือพอสมควรจึงต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นด้วยการอบรม ส่วนอีกหัวข้อ คือ การสร้างความเข้าใจในเรื่อง CSR ขององค์กรโดยเริ่มจากการจัดประชุมให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการทบทวนปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรเกี่ยวกับ CSR อีกด้วย
โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ "โครงการสายใยผูกพันสานสัมพันธ์ความรัก"โดยเริ่มจัดกิจกรรมในรูปแบบค่าย ซึ่งในค่ายก็มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างเครือข่ายครอบครัวให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย และท้ายกิจกรรมก็มีการสรุปกิจกรรมติดตามผลอีกด้วย
ต่อมา คือ "โครงการยืดอกพกถุง" โดยจะเริ่มจากการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ประชาชนในเรื่องการลดใช้ถุงพลาสติกให้หันมาใช้ถุงผ้าแทน ซึ่งการเน้นกิจกรรมครั้งนี้จะกระตุ้นปลุกให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยโครงการจะเน้นให้นักศึกษาเริ่มใช้ถุงผ้าก่อนเป็นเวลา 3 เดือนก่อนถ้าได้ผลดีก็จะดำเนินการกระจายให้เกิดวงกว้างต่อไป
นอกจากนี้ยังมี "โครงการรวมใจ 2 ศาสนาสานวัฒนธรรม" ซึ่งจะเริ่มจากการจัดแคมป์เข้าค่ายเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจวัฒนธรรมของกันและกัน ซึ่งสุดท้ายก็จะมีการจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องศาสนาและวัฒนธรรมให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดนิทรรศการเพิ่มเติมอีกด้วย
อีกทั้ง "โครงการลานกีฬาต่อต้านยาเสพติด" โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ต้องการให้วัยรุ่นในจังหวัดยะลาห่างไกลจากยาเสพติดให้มากที่สุด ซึ่งจะเริ่มจากการจัดแข่งขันกีฬาในชุมชนโดยให้นักกีฬาทีมชาติเข้ามาแข่งร่วมด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน และจะมีการสร้างสนามกีฬาในชุมชนให้เพียงพอต่อเยาวชนในชุมชนอีกด้วย
และ "โครงการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้วัสดุธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" โดยเริ่มจากการจัดมหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดทำอาหารด้วยการใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติมาปรุงรส การจัดนิทรรศการประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติ การจัดการแสดงเกี่ยวกับการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติ และสุดท้ายก็จะมีการจัดประกวดบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ จากวัสดุที่แปรรูปจากธรรมชาติ เป็นต้น
สังเกตจากหลายกิจกรรมซึ่งผมคิดว่าหากทุกกิจกรรมเกิดการสานต่ออย่างจริงจังและต่อเนื่องผ่านการกระทำจากฝีมือของพี่น้องชาวจังหวัดยะลา ผมคนหนึ่งแหละครับที่เชื่อว่าจังหวัดยะลาต้องดีขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน และหวังว่าในอนาคตอันใกล้ปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะละลายหายไปตามกาลเวลานะครับ ทั้งนี้ผมได้เลือกกิจกรรม Creative CSR ของจังหวัดยะลาทุกกิจกรรมมาลงใน Blog ทุกกิจกรรมเลยนะครับ
มาในช่วงหน้าที่พลเมืองและพลเมืองบรรษัทก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับชาวจังหวัดยะลามากมาย อาทิ การเป็นผู้ที่เชื่อฟังยำเกรงต่อพระราชกำหนดกฎหมายของประเทศบ้านเมืองทุกเมื่อด้วยการจ่ายภาษีตามกฎหมายที่กำหนดทุกปี และการสวมหมวกกันน็อคเวลาขับขี่จักรยานยนต์ ส่วนอีกหัวข้อที่น่าสนใจ คือ เป็นผู้มีความสัตย์โดยเริ่มจากการซื่อสัตย์ต่อการทำงานไม่เอาเปรียบผู้อื่น เช่น เพื่อนทำงาน 8 ชั่วโมงเราก็ต้องทำ 8 ชั่วโมงเท่ากันอย่างเต็มความสามารถ เป็นต้น และหัวข้อพลเมืองบรรษัทที่น่าสนใจก็มีดังนี้ อาทิ การส่งเสริมให้พนักงานมีศาสนธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะถ้าบุคคลหรือองค์กรมีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมทั้งใช้เป็นหลักในการทำงานแล้วจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนอีกหัวข้อ คือ การไม่ดำเนินกิจการที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อส่วนรวมเพราะทุก ๆ ธุรกิจควรมีจรรยาบรรณทางธุรกิจโดยเริ่มจากการคำนึงถึงส่วนรวมและสังคมเป็นหลักก่อน มิใช่คำนึงแต่ผลกำไรเป็นที่ตั้งอย่างเดียวเท่านั้น
มาถึงช่วงกิจกรรม CSR เชิงระบบก็มีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ อาทิ การเพิ่มความเชื่อถือได้ในการดำเนิน CSR ขององค์กรเนื่องจากบางโครงการ CSR ขององค์กรบางโครงการยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือพอสมควรจึงต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นด้วยการอบรม ส่วนอีกหัวข้อ คือ การสร้างความเข้าใจในเรื่อง CSR ขององค์กรโดยเริ่มจากการจัดประชุมให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการทบทวนปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรเกี่ยวกับ CSR อีกด้วย
โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ "โครงการสายใยผูกพันสานสัมพันธ์ความรัก"โดยเริ่มจัดกิจกรรมในรูปแบบค่าย ซึ่งในค่ายก็มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างเครือข่ายครอบครัวให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย และท้ายกิจกรรมก็มีการสรุปกิจกรรมติดตามผลอีกด้วย
ต่อมา คือ "โครงการยืดอกพกถุง" โดยจะเริ่มจากการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ประชาชนในเรื่องการลดใช้ถุงพลาสติกให้หันมาใช้ถุงผ้าแทน ซึ่งการเน้นกิจกรรมครั้งนี้จะกระตุ้นปลุกให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยโครงการจะเน้นให้นักศึกษาเริ่มใช้ถุงผ้าก่อนเป็นเวลา 3 เดือนก่อนถ้าได้ผลดีก็จะดำเนินการกระจายให้เกิดวงกว้างต่อไป
นอกจากนี้ยังมี "โครงการรวมใจ 2 ศาสนาสานวัฒนธรรม" ซึ่งจะเริ่มจากการจัดแคมป์เข้าค่ายเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจวัฒนธรรมของกันและกัน ซึ่งสุดท้ายก็จะมีการจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องศาสนาและวัฒนธรรมให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีการจัดนิทรรศการเพิ่มเติมอีกด้วย
อีกทั้ง "โครงการลานกีฬาต่อต้านยาเสพติด" โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ต้องการให้วัยรุ่นในจังหวัดยะลาห่างไกลจากยาเสพติดให้มากที่สุด ซึ่งจะเริ่มจากการจัดแข่งขันกีฬาในชุมชนโดยให้นักกีฬาทีมชาติเข้ามาแข่งร่วมด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน และจะมีการสร้างสนามกีฬาในชุมชนให้เพียงพอต่อเยาวชนในชุมชนอีกด้วย
และ "โครงการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้วัสดุธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" โดยเริ่มจากการจัดมหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดทำอาหารด้วยการใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติมาปรุงรส การจัดนิทรรศการประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติ การจัดการแสดงเกี่ยวกับการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติ และสุดท้ายก็จะมีการจัดประกวดบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ จากวัสดุที่แปรรูปจากธรรมชาติ เป็นต้น
สังเกตจากหลายกิจกรรมซึ่งผมคิดว่าหากทุกกิจกรรมเกิดการสานต่ออย่างจริงจังและต่อเนื่องผ่านการกระทำจากฝีมือของพี่น้องชาวจังหวัดยะลา ผมคนหนึ่งแหละครับที่เชื่อว่าจังหวัดยะลาต้องดีขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน และหวังว่าในอนาคตอันใกล้ปัญหาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะละลายหายไปตามกาลเวลานะครับ ทั้งนี้ผมได้เลือกกิจกรรม Creative CSR ของจังหวัดยะลาทุกกิจกรรมมาลงใน Blog ทุกกิจกรรมเลยนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น