วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นราธิวาส




ครับในส่วนของจังหวัดนราธิวาสนี้ ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ทีมพิเศษของเราได้ลงไปให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง CSR ให้ครับ มาคิดๆ ดูแล้ว ไม่แน่ใจว่าพี่ๆ ทีมพิเศษเค้าไม่กลัวอันตรายกันเลยหรือยังไง อืม...อาจจะเป็นคนในท้องที่อยู่แล้วก็เลยเฉยๆ รึป่าว ก็เป็นได้ เพราะผมเองก็ไม่เคยเห็นหน้าของทีมพิเศษเลย ก็อยากจะเจอหน้าผู้เสียสละของเราดูซักครั้งครับ ผมคิดว่าชาวใต้อาจจะรู้สึกเฉยๆ กับเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพราะบางครั้งอาจจะไม่ได้ร้ายแรงเหมือนอย่างที่เราเห็นในสื่อก็ได้ บางทีเพื่อนๆผมที่เป็นคนต่างชาติหลายคนได้สอบถามผมในช่วงที่มีการปะท้วงต่างๆ ถามผมประมาณว่าบ้านเมืองเป็นอย่างไร ร้ายแรงแค่ไหน จะมาเที่ยวจะเป็นอันตรายไหม รับรองความปลอดภัยได้มากน้อยเพียงใด ผมก็บอกไปว่ามาได้เลย ไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้นหรอก เพื่อนๆ ก็มาซื้อของที่บ้านเราและนำกลับไปขายยังบ้านเค้าก็มี สิ่งต่างๆ อาจจะไม่ได้เหมือนอย่างภาพที่เราเห็นหรือได้ยิน เพราะเราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมันขนาดไหนกันแน่
หน้าที่พลเมืองสำหรับชาวเมืองนราธิวาสได้เลือกในหัวข้อ มีความสวามิภักดิ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสนองพระราชดำริของพระองค์ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ใช้จ่ายอย่างประหยัด ช่วยเหลือสังคม แต่ก็ต้องทำมาจากใจของตนเองเช่นกัน ท่านต่อมาเป็นผู้ที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจ ต้องปฏิบัติตนไม่สร้างความเดือดร้อนกับผู้อื่นทั้งทางตรงและอ้อม เป็นที่พึ่งพาของครอบครัวได้ ท่านที่สามเป็นผู้มีความพากเพียรแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ทำงานสุจริต ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ดำรงชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การแสดงความเป็นพลเมืองบรรษัท ชาวนราธิวาสอยากให้องค์กรประกอบธุรกิจที่แสวงหากำไรโดยชอบธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อส่วนร่วม

สำหรับกิจกรรม CSR เชิงระบบ ท่านแรกอยากให้เพิ่มความสัมพันธ์ของคุณลักษณะ ความสัมพันธ์ชายแดนใต้ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างกัน จัดอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ สร้างความสามัคคีให้สังคมชายแดนใต้ คนใต้จะได้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น ท่านต่อมาอยากทำในเรื่องความเข้าใจในเรื่อง CSR อยากให้พนักงานทุกคนเข้าใจในเรื่อง CSR อยากให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม จะได้เป็นผลดีต่อองค์กรและชุมชน ท่านที่สามอยากให้ลงมือทำในเรื่องการสื่อสาร ขอความร่วมมือ จากผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ โดยร่วมมือกับองค์กรส่วนท้องถิ่น แนะนำการสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น ชัดเจนขึ้น คาดว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมถึง 80 %

ชาวนราธิวาสได้คิดโครงการ Creative CSR ที่น่าสนใจ ได้แก่ “โครงการรักษ์บ้านเกิด” มีการสร้างจิตสำนึกต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน เช่นการไม่ทิ้งขยะ ทำความสะอาดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ร่วมทำความสะอาดบริเวณหมู่บ้าน ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด มีมัคคุเทศก์แนะนำแหล่งท่องเที่ยว มีการประชาสัมพันธ์ ต้องการความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ชุมชนจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความยิ้มแย้มแจ่มใส เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยว กำหนดกิจกรรมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อสภาพสังคมที่ดี
ต่อมา คือ “โครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม” ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด รณรงค์ให้ขี่จักรยานมาทำงานแทนใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ ใช้รถเมื่อจำเป็นหรือเดินทางไกลเท่านั้น สุขภาพก็จะดีขึ้น ลดมลพิษในอากาศ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปซื้อน้ำมัน สร้างความสามัคคี เป็นกิจกรรมที่แก้ไขปัญหาจราจรด้วยอีกทางหนึ่ง

และ “โครงการปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม” จัดอบรมนักศึกษาโดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดกลุ่มทำโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ ทำตัวอย่างให้คนในท้องถิ่นได้เห็น เช่น การแยกขยะ หรือการรีไซเคิล ส่งเสริมการปลูกป่าที่มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง รณรงค์ให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เป็นการลดภาวะโลกร้อน

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับกิจกรรมต่างๆ ของชาวจังหวัดนราธิวาส ส่วนมากจะเป็นในแนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผมก็ไม่เคยไปหรอกนะครับ แต่คิดว่าถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะไปให้ครบๆ ทุกจังหวัดในประเทศของเรา มีสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจมากมายที่เราไม่สามารถพบเห็นได้ที่กรุงเทพฯ นะครับ ถ้าเป็นไปได้ใครที่มีกำลังและโอกาสก็อยากจะไปให้ไปพัฒนา หรือพื้นฟู ปรับปรุง พื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัดให้มันดีขึ้น จะเป็นบุญกุศลอย่างยิ่งที่จะติดตัวทุกท่านไป ผมได้เห็นข่าวโครงการหนึ่ง ที่มีคนรวยๆ คนดังๆ จากประเทศต่างๆ ได้มาเมืองไทยเราและสร้างบ้านให้กับผู้ยากจน ทำด้วยมือตนเองด้วย ผมก็ชอบโครงการนี้มากเลย ถ้าเป็นไปได้ก็หวังว่าทุกๆ ท่านจะทำเพื่อคนอื่นแบบนี้เช่นกันนะครับ ฝากเรื่องเหล่านี้สำหรับทุกๆ คนเลยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น